ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Alternaria porri (Ellis) Clif.
ชื่อพ้อง (Synonym) Macrosporium porri
Alternaria alii
Phylum Ascomycota
Class Dothideomycetes
Order Pleosporales
Family Pleosporaceae
Genus Alternaria
Species Alternaria porri
Race/Pathover
ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai) โรคใบจุดสีม่วง
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name) purple blotch
อาการเริ่มจากจุดขาวเล็กๆ แล้วขยายกว้างออกเกิดเป็นแผลกลมรี หรือยาวไปตามใบขนาดไม่แน่นอน เนื้อเยื่อยุบตัวลงและมีสีม่วงเกิดขึ้นกลางแผล ขอบแผลมีสีเข้มและอาจมีแถบสีเหลืองปนส้มล้อมรอบ ต่อมา 2-3 สัปดาห์ จะเกิดมีกลุ่มสปอร์สีดำเกิดขึ้นตามบริเวณแผล
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ, ลำต้น,
พืชอาศัยหลัก (Main host)
หอมหัวใหญ่ : onion (Allium cepa)
กระเทียม : garlic (Allium sativum)
หอมหัวใหญ่ : onion (Allium cepa)
กระเทียมต้น : leek (Allium ampeloprasum)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
None Data
สปอร์แพร่ระบาดไปตามลม น้ำฝน เครื่องมือ เมล็ด อยู่ข้ามฤดูในหัวหอมที่เป็นโรค เศษซากพืชในดิน
Asia: Bangladesh, Brunei Darussalam, Cambodia, China, India, Indonesia, Iran, Iraq, Israel, Japan, Jordan, Kazakhstan, Kyrgyzstan, Korea (Republic of), Laos, Lebanon, Malaysia, Myanmar, Nepal, Pakistan, Philippines, Saudi Arabi, Singapore, Sri Lanka, Taiwan, Thailand, Vietnam, Yemen
Africa: Angola, Cote d'lvoire, Egypt, Ethiopia, Gabon, Gambia, Ghana, Guinea, Kenya, Malawi, Mauritius, Morocco, Nigeria, Senegal, South Africa, Tanzania, Uganda, Zambia, Zimbabwe
North America: Canada, Mexico, USA
Central America and Caribbean: Costa Rica, Cuba, Dominican Republic, El Salvador, Guatemala, Haiti, iHonduras, Jamaica, Nicaragua, Panama, Puerto Rico, Saint Vincent and the Grenadines, Trinidad and Tobago
South America: Argentina, Brazil, Chile, Colombia, Suriname, Venezuela
Europe: Austria, Belgium, Bulgaria, Denmark, France, Germany, Greece, Italy, Lithuania, Netherlands, Norway, Poland, Portugal, Russian Federation, Serbia, Slovenia, Sweden, United Kingdom, Yugoslavia
Oceania: Australia, Fiji, French Polynesia, New Caledonia, New Zealand, Papua New Guinea, Samoa
โรคนี้ต้องการความชื้นน้อยกว่าโรคราน้ำค้างของหอมเล็กน้อย แต่ก็ชอบลักษณะที่มีหมอกลงจัดและอุณหภูมิที่เหมาะสม 25 -27 องศาเซลเซียส นอกจากนี้พบว่าหากใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะแอมโมเนียซัลเฟตมาก โรคจะเกิดรุนแรง
-ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค ไม่ควรปลูกหอมแน่นเกินไป
-ลดปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่มปุ๋ยโพแทสเซียม
-เลือกพันธุ์ที่เป็นไขเปลือกหนา จะเป็นโรคน้อยกว่าพันธุ์ที่เป็นไขเปลือกบาง
-ควรปลูกพันธุ์ที่เป็นพืชวันสั้นน้อยกว่าพันธุ์ที่เป็นพืชวันยาว ควรปรับปรุงดินด้วยปูนขาวและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1-2 ตันต่อไร่ หรือมากกว่านี้ ช่วยทำให้ต้นกระเทียมสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่ค่อยเป็นเป็นโรคนี้ ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อราด้วย คลอโรธาโลนิล แมนโคเซบ มาเนบ ไซเนบ
[1] CABI. 2007. Crop Protection Compendium. CAB International, Wallingford UK. URL http://www.cabicompendium.org/cpc/home.asp
[2] คลีนิคพืช. มปป. โรคใบจุดสีม่วง. สารสนเทศในงานป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร. URL http://www.agriqua.doae.go.th/plantclinic/Clinic/plant/garlic/dgar5_3.htm
[3] นิตยา กันหลง. 2542. โรคสำคัญของพืชสกุลหอมกระเทียมในประเทศไทย. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 97 หน้า
[4] สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ. 2554. โรคใบจุดสีม่วง, หน้า 146. ใน โรคผักและการป้องกันกำจัด. กลุ่มงานวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 153 หน้า.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable