Pseudocercospora punicae (Henn.) Deighton, 1976

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Pseudocercospora punicae (Henn.) Deighton, 1976
ชื่อพ้อง (Synonym)  -

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Ascomycota
    Class  Dothideomycetes
       Order  Capnodiales
          Family  Mycosphaerellaceae
             Genus  Pseudocercospora
             Species  punicae
              Race/Pathover  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรคใบจุดและผลเน่าทับทิม
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  leaf and fruit spot of pomegranate

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

บนใบและผลของทับทิมมีจุดแผลขนาดเล็กสีดำเกิดขึ้น  แผลมีขนาด1–12 มม. ทั้งที่เป็นวงและรูปร่างไม่แน่นอน  ระยะแรกแผลมีสีน้ำตาล เทาหม่น น้ำตาลจางๆ จากนั้นขอบแผลมีสีเข้มขึ้น ขนาดแผลบนใบเล็กกว่าบนผล  ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าแผลบนผลเกิดจากการขยายตัวมาเชื่อมกันของแผลจุดขนาดเล็ก ผลผลิตที่เป็นโรคด้อยคุณภาพ ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ ผล

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

ทับทิม : pomegranate (Punica granatum)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

None Data

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

ใบ ผล

การแพร่กระจาย (Distribution)

เชื้อนี้ (Cercospora punicae)มีรายงานพบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปีค.ศ.1906    ในประเทศไทยรายงานเชื้อนี้บนทับทิมเมื่อ พ.ศ. 2532 (Petcharat and Kanjanamaneesathian,1989) ในทวีปเอเซียพบที่ China, Hong Kong,Taiwan,India, Japan, Singapore, Malaysia, Nepal, Pakistan, Egypt ทวีปปอเมริกา USA (Florida),Hawaii, Brazil, Cuba,Venezuela,Dominica    ที่อื่นๆ Ethiopia,Kenya,Zambia, Sudan, Tanzania, Mauritius, Puerto Rico, Bermuda, Republic of Maldives.     

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

วิธีการควบคุม (Control measure)

ใช้สารเคมี เช่น Mancozeb 0.25 % ฉีดพ่นห่างกัน 15 วัน/ครั้ง สามารถควบคุมโรคบนใบได้ผลดี
ถ้าเป็นระยะติดผล ใช้ Dithane M-45 ฉีดพ่น 15 วัน/ครั้ง 2-3 ครั้ง หรือใช้สาร Captan อัตรา 2.5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร (http://nhb.gov.in/bulletin_files/fruits/pomegranate/pom002.pdf). ควรกำจัดผลที่ติดโรคและมีเชื้อราออกจากบริเวณที่เพาะปลูก

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Phengsintham P, Chukeatirote E, McKenzie EHC, Hyde KD, Braun U. 2011. Tropical Phythopathogens 1: Pseudocercospora punicae. Plant Pathology and Quarantine 1: 1–6.
[2] Petcharat V, Kajanamaneesathian M. 1989 –Species of plant pathogenic Cercospora in Southern Thailand. Thai Journal of Phytopathology 9: 23–27.
[3] Leung, H. Y. M.; Goh, T. K.; Hyde, K. D.; UK, 1997. CAB International Journal IMI Descriptions of Fungi and Bacteria 1997 No. 132 pp. Sheet 1317.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication