ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Pineapple mealybug wilt associated virus
ชื่อพ้อง (Synonym) Pineapple wilt associated virus
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ไวรัสโรคเหี่ยวสับปะรด
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms) PMWaV
Order Unassigned
Family Closteroviridae
Genus Ampelovirus
Species Pineapple mealybug wilt associated virus
Race/Pathovar
Strain/Type/Serotype
ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai) โรคเหี่ยวสับปะรด
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name) Pineapple mealybug wilt disease
ลักษณะอาการหลัก: อาการเริ่มจากปลายใบแห้ง เนื้อใบสีเขียวอาจมีสีม่วงแดงลามจากปลายใบเข้าสู่เนื้อใบ ขอบใบลู่หรือม้วนเข้าหาด้านใต้ใบ ต่อมาใบแห้งคล้ายขาดน้ำ ใบแผ่แบน และขอบใบม้วนมากขึ้น แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีม่วงแดงตลอดทั้งใบ ใบสลดหรืออ่อนตัวลงอย่างชัดเจน ระยะสุดท้ายใบจะแห้งเหี่ยวทั้งกอ รากสั้นแตกแขนงน้อย รากส่วนใหญ่เน่าแห้งตาย สับปะรดแสดงอาการได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนถึงเก็บเกี่ยว โรคระบาดมากในระยะบังคับดอก หากเกิดโรคในระยะติดผลทำให้ผลเล็ก แคระแกรน คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน หากต้นเป็นโรครุนแรงจะไม่ให้ผลผลิต พันธุ์ปัตตาเวียอ่อนแอมากที่สุด
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ราก ใบ ลำต้น ผล
symptom keywords: wilt, leaf blight,leaf rolling and curling, leaf reddening, stunt
พืชอาศัยหลัก (Main host)
สับปะรด : pineapple (Ananas comosus)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
None Data
หน่อสับปะรดจากต้นเป็นโรคที่นำไปปลูกขยายพันธุ์ และต้นตอสับปะรดเป็นโรคที่คงค้างอยู่ในแปลง
เพลี้ยแป้งสับปะรดสีชมพู, Pinkish mealybug Dysmicoccus brevipes (Cockerell) เพลี้ยแป้งสับปะรดสีเทา, Gray mealybug, Dysmicoccus neobrevipes (Beardsley) โดยมีมดหัวโต Pheidole megacephala worker เป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งแพร่ระบาดไปทั่วแปลงปลูก
ในประเทศไทยพบการระบาดของโรคในพันธุ์ปัตตาเวียที่จังหวัดชลบุรี ต่อมาพบทางภาคตะวันตก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และภาคตะวันออก เช่น ระยอง และตราด (วันเพ็ญ และคณะ, 2546) ปัจจุบันพบโรคระบาดทั่วทุกพื้นที่ปลูก รวมทั้งภาคเหนือเช่น เชียงราย ลำพูน อุตรดิตถ์ พบในสับปะรดทุกพันธุ์ แต่บางพันธุ์ไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน เชื้อนี้พบครั้งแรกที่มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา (1996) ต่อมาพบในแหล่งปลูกสับปะรดทั่วโลก เช่น ออสเตรเลีย คิวบา บราซิล จีน ไต้หวัน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย มาเลเซีย ศรีลังกา ญี่ปุ่น อาฟริกา กานา ตูนิเซีย เยอรมันนี อิตาลี
ถ้ามีการระบาดของมดหัวโตและมดคาบเพลี้ยแป้งเคลื่อนที่ไปด้วย จะทำให้เกิดการระบาดของโรคในแปลงปลูกอย่างรวดเร็ว หากปลูกสับปะรดระยะชิด มดจะเคลื่อนย้ายเพลี้ยแป้งได้เร็วขึ้น
-นำหน่อพันธุ์ไปแช่น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส นาน 120 นาที, 50 องศาเซลเซียส นาน 60 นาที และ 55 องศาเซลเซียส นาน 30, 60 และ 120 นาที สามารถลดการเกิดโรคได้ 10, 20, 5, 5 และ 15% วิธีการแช่น้ำร้อนทุกวิธีทำให้หน่อพันธุ์มีชีวิตรอด
-กำจัดมดหัวโตเพื่อลดการเคลื่อนที่ของเพลี้ยแป้งที่เป็นพาหะถ่ายทอดเชื้อไวรัส
-ไม่ปลูกสับปะรดระยะชิดเกินไป
[1] วันเพ็ญ ศรีทองชัย. 2546. โรคเหี่ยว:ภัยคุกคามต่อการปลูกสับปะรดของไทย. วารสารโรคพืช 17: 48-53.
[2] Dilokkunanant, U., S. Kladpan, R. Prateepasen and U. Suwanwong. 1996. Pineapple wilt disease in Thailand. Thai. J. Agric. 29: 337-348.
[3] เกลียวพันธ์ สุวรรณรักษ์, มาลี ชวนะพงศ์, วันเพ็ญ ศรีทองชัย, สมพร เหรียญรุ่งเรือง, จารินี จันทร์คำ และกิตติศักดิ์ กีรติยะอังกูร. 2550. โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการศัตรูสับปะรดเพื่อแก้ปัญหาโรคเหี่ยว. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; กรุงเทพ. 38 หน้า.
[4] มัลลิกา นวลแก้ว วันเพ็ญ ศรีทองชัย สุเทพ สหายาสุนีย์ ศรีสิงห์ เสาวคนธ์ วิลเลี่ยมส์ เตือนใจ สัตยวิรุทธิ์ สาวิตรี เขมวงศ์ เขมิกา โขมพัตร และ เยาวภา ตันติวานิช. 2553. การจัดการหน่อเพื่อป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวสับปะรด กรมวิชาการเกษตร. 9 หน้า.
[5] ดนุพล ไชยพงษ์. 2556 .การตรวจสอบและระบาดวิทยาของเชื้อไวรัส Pineapple mealybug wilt-associated virus สาเหตุโรคเหี่ยวของสับปะรดในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[6] บุณณดา ศรีคำผึ้ง และ พิสสวรรณ เจียมสมบัติ 2556 การแพร่ระบาดของไวรัสสาเหตุโรคเหี่ยวสับปะรดในประเทศไทย. การประชุมวิชาการแห่งชาติครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน วันที่ 7-9 ธันวาคม 2556.
[7] Ullman DE, Williams DF, Fleisch H, Hu JS, Sether D, Gonsalves A. 1993. Heat treatment of pineapple: Subsequent growth and occurrence of mealybug wilt of pineapple. Acta Horticulturae 334: 407-410.
[8] Ashley A. Egelie and Jennifer L. Gillett-Kaufman. 2015. Pineapple mealybug. Publication Number: EENY-635. University of Florida, Entomology and Nematology Department. Available online: URL http://entnemdept.ufl.edu/creatures/FRUIT/MEALYBUGS/pineapple_mealybug.htm#top
[9] Sether DM, Hu JS (2000) A closterovirus and mealybug exposure are both necessary components for mealybug wilt of pineapple symptom induction. Phytopathology 90: S71
[10] Hu JS, Sether DM, Ullman DE (1996) Detection of pineapple closterovirus in pineapple plants and mealybugs using monoclonal antibodies. Plant Pathology 45, 829–836.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable