Soybean crinkle leaf virus

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Soybean crinkle leaf virus
ชื่อพ้อง (Synonym)  
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไวรัสใบยอดย่นถั่วเหลือง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms)  SCLV

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Order  Virus families not assigned to an order
     Family  Geminiviridae
          Genus  Begomovirus
             Species  Soybean crinkle leaf virus
              Race/Pathovar  
              Strain/Type/Serotype  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรคใบยอดย่นถั่วเหลือง
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  soybean crinkle leaf

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

ลักษณะอาการหลัก: ใบยอดสีเขียวอ่อนเส้นใบสีเหลือง มีขนาดเล็ก หดย่นและโค้งงอขึ้นหรือลง บางครั้งใบมีแถบสีเขียวเข้มตามแนวเส้นใบ ใบแก่มีสีเขียวเข้ม หดย่น เส้นใต้ใบมักมีสีเขียวเข้มและนูนออกมาเป็นติ่ง ถ้าเป็นโรครุนแรง ต้นแคระแกร็น ฝักบิดเบี้ยว ผิวฝักย่นและแก่ช้ากว่าปกติ
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ, ลำต้น, ฝัก
symptom keyword: leaf crinkle, stunt

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

ถั่วเหลือง : soyabean (Glycine max)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

มะเขือเทศ : tomato (Lycopersicon esculentum)

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

โรคนี้พบระบาดมากในฤดูแล้ง แมลงพาหะ คือ แมลงหวี่ขาวยาสูบ ถ่ายทอดได้โดยวิธีกลและสามารถถ่ายทอดโรคผ่านการทาบกิ่ง

พาหะ (Vector)

แมลงหวี่ขาวยาสูบ (whitefly: Bemisia tobacci)

การแพร่กระจาย (Distribution)

ประเทศไทยพบครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2522 ที่จังหวัดเชียงใหม่ กำแพงเพชร สระบุรี และเลย      

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

วิธีการควบคุม (Control measure)

-ถอนต้นเป็นโรคทิ้งทุกระยะการเจริญโดยเพื่อกำจัดแหล่งสะสมของไวรัส
-กำจัดวัชพืชรอบแปลงปลูกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของโรคและแมลงพาหะ
-ไม่ปลูกถั่วเหลืองใกล้แปลงมะเขือเทศและยาสูบซึ่งเป็นพืชอาศัยที่สำคัญของโรคนี้ ติดกับดักกาวเหนียวสีเหลืองรอบแปลงถั่วเหลืองเพื่อเตือนการระบาดของแมลงหวี่ขาว
-ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงใต้ใบเมื่อพบแมลงหวี่ขาวระบาดมาก เช่น อิมิดาโคลพริด หรือไตรอะโซฟอส 40% อีซี หรือคาร์โบซัลแฟน หรือปิโตรเลียมออยล์ หรือปิโตรเลียม สเปรย์ ออยล์ โดยฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน และไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันหลายครั้ง

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร. 2545. โรคไวรัสที่สำคัญของพืชผักและพืชน้ำมัน. กลุ่มงานไวรัสวิทยา กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 88 หน้า.
[2] สุพัฒน์ อรรถธรรม. 2552. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส. บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด, นนทบุรี. 206 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication