Banana bunchy top virus

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Banana bunchy top virus
ชื่อพ้อง (Synonym)  -
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไวรัสบันชีทอปกล้วย  
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms)  BBTV

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Order  Unassigned
     Family  Nanoviridae
          Genus  Babuvirus
             Species  Banana bunchy top virus
              Race/Pathovar  
              Strain/Type/Serotype  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรคยอดแตกพุ่มของกล้วย
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  bunchy top of banana

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

ลักษณะอาการหลัก: ใบยอดของกล้วยไม่เจริญยืดตัวออกมา อัดกันเป็นมัดอยู่ที่ปลายยอด ใบมีรอยขีดประสีเขียวเข้มขนานไปกับเส้นใบย่อย ขอบใบเหลือง กล้วยบางพันธุ์ไม่แสดงอาการ
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ ต้น ดอก ผล
symptom keywords: bunchy top, leaf mosaic, flower discoloring

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

กล้วย, พืชสกุลกล้วย : banana (Musa sp.)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

พุทธรักษา : Canna, indian shot, canna lily (Canna indica)
ข่า : Galinga (Alpinia galanga)
กระชาย : Kaemfer (Kaemferia pandurata)

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

-กล้วยและพืชพันธุ์ใกล้เคียงที่ปลูกเป็นพืชอาหารและใช้งานต่างๆ 
-กล้วยและพืชพันธุ์ใกล้เคียงที่ขึ้นในป่าทั่วไป

พาหะ (Vector)

เพลี้ยอ่อนกล้วย Pentalonia nigronervosa Coq.

การแพร่กระจาย (Distribution)

ในประเทศไทยสำรวจพบเชื้อในกล้วยที่ปลูกทั่วไปในหลายจังหวัด เช่น กาญจนบุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2537) ต่อมาพบในจังหวัดเชียงราย สุโขทัย พิจิตร สิงห์บุรี ปากช่อง สุรินทร์ อุบลราชธานี กรุงเทพ สงขลา ระยอง และแหล่งปลูกกล้วยทางการค้าหลายพื้นที่ (พ.ศ. 2555)

โรคนี้เคยมีรายงานว่าพบในแหล่งปลูกกล้วยทั่วโลกได้แก่  French Polynesia (CMI, 1977), Laos (Stover, 1972), Hong Kong (Buddenhagen, 1968; CMI, 1977), Papua New Guinea (Magee, 1954; CMI, 1977), Sabah (Magee, 1927; CMI, 1977) the United Arab Republic (Buddenhagen, 1968) Indonesia & Peninsular Malaysia (CMI, 1977) และในอีกหลายประเทศที่รายงานพบโรคแต่ยังต้องการการตรวจสอบยืนยันทางชีวโมเลกุลเพิ่มเติม (http://www.cabi.org/isc/datasheet/8161) 

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

วิธีการควบคุม (Control measure)

-กำจัดต้นกล้วยที่เป็นโรคโดยการเผา และขุดส่วนที่เป็นเหง้าออกมาจากแปลง นำไปกำจัดทิ้ง
-ไม่ใช้หน่อจากต้นเป็นโรค

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] ประวัติ ตันบุญเอก; เกียรติ ลีละเศรษฐกุล; พัฒน์พงศ์ ภัทรโกศล. 2536. การถ่ายทอดและพืชอาศัยของเชื้อไวรัส Bunchy top ของกล้วยในประเทศไทย.การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 31 สาขาพืช 3-6 กุมภาพันธ์ 2536. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม; ทบวงมหาวิทยาลัย หน้า 551-554.
[2] พิกุลแก้ว วงศ์สุวรรณ ศรีเมฆ ชาวโพงพาง 2555 รหัสพันธุกรรมและส่วนประกอบจีโนมของเชื้อไวรัสบานานาบันชีทอปในประเทศไทย เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50: สาขาพืช. กรุงเทพฯ, หน้า 310-317.
[3] Hu JS, Xu MQ, Wu ZC, Wang M, 1993. Detection of banana bunchy top virus in Hawaii. Plant Disease, 77(9):952.
[4] CABI Crop Compendium. 2015. Banana bunchy top virus Data Sheet. Available online: http://www.cabi.org/isc/datasheet/8161.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication