ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Sugarcane streak mosaic virus
ชื่อพ้อง (Synonym)
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ไวรัสใบด่างขีดอ้อย
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms) SCSMV
Order ๊ืUnassigned
Family Potyviridae
Genus Poacevirus
Species Sugarcane streak mosaic virus
Race/Pathovar
Strain/Type/Serotype
ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai) โรคใบด่างขีดอ้อย
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name) Sugarcane streak mosaic
ลักษณะอาการหลัก: ใบอ้อยที่เป็นโรคมีลักษณะอาการใบด่างเป็นรอยขีดหรือเส้นสีเหลืองไปตามทางยาวของใบ เห็นได้ชัดเจนบนใบอ่อนหรือใบยอด บนใบแก่พบอาการด่างรุนแรงและค่อนข้างเหลือง อาการเหล่านี้คล้ายกับอาการที่เกิดจากไวรัสใบด่างอ้อย (Sugarcane mosaic virus, SCMV)แยกแยะออกจากกันได้ยากมาก บนใบข้าวฟ่างและข้าวโพดที่ได้รับการปลูกเชื้อ Sugarcane streak mosaic virus มีอาการใบด่างขีดสีเขียวซีดสลับเขียวเข้ม อาการคล้ายคลึงกับที่เกิดจากเชื้อ SCMV
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ
symptom keyword: mosaic, yellow streak, streak mosaic
พืชอาศัยหลัก (Main host)
อ้อย : sugarcane (Saccharum officinarum)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
ข้าวฟ่าง : sorghum (Sorghum bicolor)
ข้าวโพด : corn, maize (Zea mays)
อ้อยดำ : Wild New-Guinean cane (Saccharum robustum)
อ้อยแดง : Noble Sugar Cane (Saccharum sinense )
อ้อยป่า : chinese cane (Saccharum barberi)
เลา : Kans grass (Saccharum spontaneum)
เชื้อสามารถพักอาศัยในต้นอ้อยที่พักตอไว้ในแปลงปลูกได้ตลอดไป และอยู่ในข้าวฟ่างหรือข้าวโพดที่ปลูกในแปลงตามฤดูกาลได้ และจะเพิ่มปริมาณได้ใหม่ตามการเจริญของต้นอ้อยในฤดูกาลถัดมา
ในประเทศไทย ตรวจพบเชื้อเป็นครั้งแรกจากอ้อยในแปลงปลูกของเกษตรกรที่จังหวัดนครปฐมในปีพ.ศ.2552 จากนั้นมีรายงานผลสำรวจโรคในจังหวัดกาญจนบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น และอุดรธานีในช่วงปีพ.ศ.2553-54-55 โดยทั่วไปพบการระบาดของโรคในแปลงปลูกอ้อยทั่วไปในอัตราสูงกว่า 50% ของต้นอ้อยในแปลง เชื้อนี้พบระบาดในทวีปเอเซีย ได้แก่ ประเทศปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ ไทย อิหร่าน จีน ออสเตรเลีย เวียตนาม และอินโดนีเซีย ทำความเสียหายอยางมากต่อผลผลิตอ้อย
ใช้ท่อนพันธุ์อ้อยที่ปราศจากโรค
[1] Paweena Kasemsin, Pissawan Chiemsombat, Ratchanee Hongprayoon. 2016. Characterization and Genetic Variation of Sugarcane Streak Mosaic Virus, a Poacevirus Infecting Sugarcane in Thailand. Modern Applied Science 10: 137-149. DOI: http://dx.doi.org/10.5539/mas.v10n4p137
[2] Zhen H., Yasaka R.,Feng L.W.,Fang L.S.; Ohshima, K. 2016. Genetic structure of populations of Sugarcane streak mosaic virus in China: comparison with the populations in India. Virus Research 211: 103-116.
[3] Damayanti T.A.,Putra K.L. 2011. First occurrence of Sugarcane streak mosaic virus infecting sugarcane in Indonesia. J.Gen. Plant Pathol.77: 72-74.
[4] Chatenet, M.; Mazarin, C.; Girard, J. C.; Fernandez, E.; Gargani, D.; Rao, G. P.; Royer, M.; Lockhart, B.; Rott, P. 2005. Detection of sugarcane streak mosaic virus in sugarcane from several Asian countries. Sugar Cane International 23: 12-15.
[5] Putra LK., Astono TH., • Syamsidi SR., Djauhari S. 2015. Investigation on transmission modes and host range of Sugarcane streak mosaic virus in sugarcane (Saccharum officinarum L.) in Indonesia. Journal of Agricultural and Crop Research 3: 59-66.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable