Telosma mosaic virus

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Telosma mosaic virus
ชื่อพ้อง (Synonym)  
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไวรัสใบด่างทีลอสมา
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms)  TeMV

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Order  Unassigned
     Family  Potyviridae
          Genus  Potyvirus
             Species  Telosma mosaic virus
              Race/Pathovar  
              Strain/Type/Serotype  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรควูดดิเนสเสาวรส
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  Passion fruit woodiness

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

ลักษณะอาการหลัก: ใบเสาวรสที่เป็นโรคแสดงอาการด่างเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน อาจมีหรือไม่มีจุดประสีเหลือง ใบอ่อนมีรูปร่างบิดเบี้ยวผิดรูป ผลอ่อนมีผิวด่างเขียวซีดสลับสีเขียว ผลแก่มีเปลือกแข็งมาก หดย่น และมีรูปทรงบิดเบี้ยว (อาการวูดดิเนส)
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ ผล
symptom keyword: mosaic, mottling, woodiness, leaf distortion, fruit distortion

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

เสาวรส : Passion fruit (Passiflora edulis)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

ขจร : fragrant telosma (Telosma cordata)
ถั่วแขก, ถั่วแดงหลวง : common bean, red kidney bean, kidney bean (Phaseolus vulgaris)
โทงเทง : cutleaf groundcherry (Physalis minima)
ถั่วพุ่ม : cowpea (Vigna sinensis)
ถั่วฝักยาว : yard long bean (Vigna sesquipedalis)
ถั่วขาว : white bean (Bruguiera cylindrica)

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

เชื้อสะสมในต้นเสาวรสที่เป็นโรคและปลูกเป็นไม้ยืนต้นมาเป็นเวลานาน  เชื้อสามารถพักอาศัยในพืชนี้ได้ตลอดปี

พาหะ (Vector)

เพลี้ยอ่อนฝ้าย Aphis gosyppii เพลี้ยอ่อนถั่ว Aphis craccivora

การแพร่กระจาย (Distribution)

ในประเทศไทยพบโรคนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2527 ที่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมเรียกโรคใบด่างของกระทกรกยักษ์ และพบที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง และที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีการศึกษาลักษณะของไวรัสและสมบัติต่างๆ แต่ไม่มีการตั้งชื่อไวรัส ต่อมาในปีพ.ศ. 2546 ถึงปัจจุบัน ตรวจพบโรควูดดิเนสในสวนเสาวรสทั่วพื้นที่โครงการหลวง และแปลงเกษตรกรบนดอยต่างๆ เช่นดอยอ่างขาง หนองหอย จังหวัดเชียงใหม่ โดยตรวจพบเชื้อและจำแนกได้เป็น Telosma mosaic virus โรคนี้ระบาดทั่วไปในแหล่งปลูกเสาวรสของประเทศไทย สำหรับไวรัส TeMV มีรายงานพบในเวียตนาม ไทย และอินโดนีเซีย ในต่างประเทศมีรายงานการพบโรควูดดิเนสของเสาวรส เช่นในประเทศบราซิล ญี่ปุ่น ไต้หวัน เวียตนาม อูกันดา  แต่จำแนกเชื้อสาเหตุได้ต่างชนิดกันในแต่ละภูมิภาค การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโรควูดดิเสนของเสาวรอยู่ในวงจำกัดของแต่ละพื้นที่ ซึ่งอาจเนื่องมาจากการปลูกเสาวรสใช้ต้นพันธุ์ที่ได้การทาบกิ่งขยายพันธุ์อยู่ภายในแต่ละประเทศ 

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

วิธีการควบคุม (Control measure)

-เนื่องจากการปลูกเสาวรสจะใช้ต้นพันธุ์ที่มาจากการติดตาทาบกิ่งเสาวรสพันธุ์ดีบนต้นตอเสาวรสเหลือง ทำให้ไวรัสติดไปกับกิ่งพันธุ์เป็นโรคที่นำมาทาบกิ่งขยายพันธุ์ จึงควรตรวจสอบกิ่งพันธุืที่ใช้ให้ปราศจากโรคก่อนนำมาใช้
-ใช้พันธุ์เสาวรสทนโรคที่ได้จากการคัดเลือกต้นที่ทนทานต่อโรคในแต่ละพื้นที่
-ใช้ต้นพันธุ์ปลอดโรคที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และตรวจสอบว่าปราศจากไวรัส ปลูกทดแทนต้นเดิมที่ติดไวรัส
-ใช้เสาวรสดัดแปลงพันธุกรรม (Transgenic passion fruit)

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Chiemsombat, P.; Prammanee, S.; Pipattanawong, N. 2104., Occurrence of Telosma mosaic virus causing passion fruit severe mosaic disease in Thailand and immunostrip test for rapid virus detection. Crop Protection 63: 41-47.
[2] Prammanee S, Thumjamras S. Chiemsombat P., Pipattanawong N. 2011. Efficient shoot regeneration from direct apical meristem tissue to produce virus-free purple passion fruit plants. Crop Protection 30 (2011) 1425-1429.
[3] สิทธิชัย บุญรอด; พิสสวรรณ เจียมสมบัติ; สิริภัทร์ พราหมณีย์; รัชนี ฮงประยูร; ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ 2553. การแยกเชื้อ จำแนกชนิด และลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของไวรัสรูปท่อนยาวคดที่เป็นสาเหตุของโรคใบด่างจุดเหลืองของเสาวรสพันธุ์สีม่วง ใน เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาพืช. กรุงเทพฯ, 2553, หน้า 184-191 (663 หน้า)
[4] อนงค์ จันทร์ศรีกุล; นวลจันทร์ ดีมา; วรวรรณ ศักดิ์วงศ์; ดวงใจ ชูปัญญา 2529. โรคใบด่างของกะทกรกยักษ์ที่พบในประเทศไทย ใน รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 24 สาขาพืช เล่ม 1 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 27-29 มกราคม 2529. กรุงเทพฯ, หน้า 144-155 (266 หน้า)
[5] Trevisan, F., Mendes, B. M. J., Maciel, S. C., Vieira, M. L. C., Meletti, L. M. M., and Rezende,J. A. M. 2006. Resistance to Passion fruit woodiness virus in transgenic passionflower expressing the virus coat protein gene. Plant Dis. 90:1026-1030.
[6] Chang, C.A.; Lin, Y.D.; Lin, H.H. Utilization of virus-free passionfruit seedling control passionfruit virus disease in Taiwan: proceeding of disease and pest control without pesticide. Taiwan, 1992. p.349-359
[7] Noveriza R, Suastika G, Hidayat H, and Natsuaki K. 2016. Molecular Cloning and Sequencing of Telosma Mosaic Virus (TeMV) Causing Mosaic Disease on Patchouli. Plant Pathology Journal, 15: 65-74.
[8] Ha, C., S. Coombs, P.A. Revill, R.M. Harding, M. Vu and J.L. Dale, 2008. Design and application of two novel degenerate primer pairs for the detection and complete genomic characterization of potyviruses. Arch. Virol., 153: 25-36.
[9] สุดาพร ปุกแก้ว. 2548. การพัฒนาเทคนิค อาร์ที-พีซีอาร์ เพื่อการตรวจสอบโรคของเสาวรสที่เกิดจากเชื้อไวรัส .วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 75หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication