Soybean mosaic virus

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Soybean mosaic virus
ชื่อพ้อง (Synonym)  -
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไวรัสใบด่างถั่วเหลือง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms)  SMV

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Order  
     Family  Potyviridae
          Genus  Potyvirus
             Species  Soybean mosaic virus
              Race/Pathovar  
              Strain/Type/Serotype  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรคใบด่างถั่วเหลือง
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  soybean mosaic

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

ลักษณะอาการหลัก: ใบด่างสีเขียวสลับสีเขียวเข้ม ขอบใบม้วนงอ ใบหดย่น ใบยอดที่แตกใหม่เกิดอาการเส้นใบใส (vein clearing) ต้นแคระแกร็น ผลผลิตลดลงและเมล็ดบางส่วนมีขีดหรือแถบสีน้ำตาลหรือสีดำออกจาก hilum ทั้งสองด้าน
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ,กิ่งก้าน,ลำต้น,ฝัก,เมล็ด
symptom keyword:  Mosaic,Stunt,Seed discolouration

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

ถั่วเหลือง : soyabean (Glycine max)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

แตงโม : watermelon (Citrullus lanatus)
แคนตาลูป : Cantaloupea (Cucumis melo var. cantalupensis)
ฟักทองเทศ : summer squash (Cucumis melo)
แตง, แตงกวา : cucumber (Cucumis sativus)

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

เมล็ดพันธุ์ และแมลงพาหะ

พาหะ (Vector)

เพลี้ยอ่อนยาสูบ (Myzus persicae Sulz.); เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง (Aphis glycines Mats.); Acyrthosiphon pisum; Aphis fabae; Myzus persicae

การแพร่กระจาย (Distribution)

พบในสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยพบเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2513 ที่จังหวัดเชียงใหม่ และขอนแก่น

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

วิธีการควบคุม (Control measure)

-ใช้พันธุ์ต้านทาน พบว่าถั่วเหลืองที่มีใบแคบเรียวยาว เช่น พันธุ์สุโขทัย มีความต้านทานต่อโรคสูง 
-เลือกเมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรคมาปลูก
-หมั่นตรวจสอบแปลงปลูก ถ้าพบต้นที่เป็นโรคให้รีบถอนและทำลายทันที กำจัดวัชพืชและพืชอาศัยโดยเฉพาะพืชที่อยู่ในตระกูลถั่ว เช่น ถั่วผี ขี้เหล็กเทศ และโสนผี เพื่อกำจัดแหล่งสะสมของเชื้อและแมลงพาหะ
-ใช้สารฆ่าแมลงเพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อเพราะสารเหล่านี้สามารถทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยอ่อนได้และอาจไปกระตุ้นให้แมลงเกิดการเคลื่อนย้ายเร็วกว่าปกติ เป็นสาเหตุให้โรคแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เมื่อพบเพลี้ยอ่อนระบาดมากควรฉีดพ่นด้วย คาร์โบซันแฟน หรือ ไตรอะโซฟอส

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร. 2545. โรคไวรัสที่สำคัญของพืชผักและพืชน้ำมัน. กลุ่มงานไวรัสวิทยา กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 88 หน้า.
[2] ธีระ สูตะบุตร. 2532. โรคไวรัสและโรคคล้ายไวรัสของพืชสำคัญในประเทศไทย. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 310 หน้า.
[3] สุพัฒน์ อรรถธรรม. 2552. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส. บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด, นนทบุรี. 206 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication