ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Peanut mottle virus
ชื่อพ้อง (Synonym)
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ไวรัสใบด่างประถั่วลิสง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms) PMV
Order Virus families not assigned to an order
Family Potyviridae
Genus Potyvirus
Species Peanut mottle virus
Race/Pathovar
Strain/Type/Serotype
ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai) โรคใบด่างประถั่วลิสง
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name) peanut mottle
ลักษณะอาการหลัก: ใบด่างสีเขียวสลับสีเขียวอ่อน ด่างสีเหลือง ด่างเป็นวงแหวนสีเขียวหรือสีเหลือง หรือด่างเป็นลายเส้น (line pattern) ใบด่างประ ผิวใบไม่เรียบ ต้นแคระแกร็น ฝักไม่สมบูรณ์ และเมล็ดเล็ก
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ, ลำต้น, ฝัก, เมล็ด
symptom keyword: mottle
พืชอาศัยหลัก (Main host)
ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut (Arachis hypogaea)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
ถั่วเหลือง : soyabean (Glycine max)
ถั่วเขียว : mung bean (Phaseolus aureus)
ถั่วแขก, ถั่วแดงหลวง : common bean, red kidney bean, kidney bean (Phaseolus vulgaris)
ถั่วลันเตา : pea, garden pea (Pisum sativum)
ถั่วปากอ้า : broad bean (Vicia faba)
ถั่วพุ่ม : cowpea (Vigna sinensis)
ถั่วหรั่ง : Bambara groundnut (Voandzeia subterranea)
แพร่ระบาดโดยแมลงพาหะ คือ เพลี้ยอ่อนถั่ว ถ่ายทอดโรคผ่านทางเมล็ด
เพลี้ยอ่อนถั่ว (Aphis craccivora Koch.) ถ่ายทอดได้โดยวิธีกล
พบครั้งแรกในประเทศไทยปี พ.ศ. 2511 ที่จังหวัดขอนแก่น
-ใช้เมล็ดพันธุ์ปราศจากโรค
-ทำลายแหล่งของพืชอาศัยและวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อกำจัดแหล่งสะสมของเชื้อและแมลงพาหะ
-ปลูกพืชแซมที่ไม่ใช่พืชอาศัยของโรคนี้ เช่น ปลูกถั่วลิสงเหลือมข้าวโพด หรือแซมถั่วลิสงลงในแถวข้าวโพดในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ช่วยลดการระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี
-ใช้สารฆ่าแมลงเพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อนควรฉีดพ่นเท่าที่จำเป็น เช่น คาร์โบซัลแฟน หรือใช้สารในรูปของเม็ดคลุกดิน เช่น คาร์โบฟูราน 3% จี
[1] กลุ่มงานโรคพืช. 2545. ถั่วลิสง: โรคใบด่างกระ. กลุ่มงานโรคพืช กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร. URL http://plantpro.doae.go.th/diseasegroup/peanut/mottle/mottle.htm
[2] กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร. 2545. โรคไวรัสที่สำคัญของพืชผักและพืชน้ำมัน. กลุ่มงานไวรัสวิทยา กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 88 หน้า.
[3] ธีระ สูตะบุตร. 2532. โรคไวรัสและโรคคล้ายไวรัสของพืชสำคัญในประเทศไทย. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 310 หน้า.
[4] สุพัฒน์ อรรถธรรม. 2552. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส. บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด, นนทบุรี. 206 หน้า.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable