Citrus tristeza virus

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Citrus tristeza virus
ชื่อพ้อง (Synonym)  Citrus quick decline virus,Citrus tristeza closterovirus,Grapevine A virus
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไวรัสทริสเตซาส้ม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms)  CTV

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Order  Virus families not assigned to an order
     Family  Closteroviridae
          Genus  Closterovirus
             Species  Citrus tristeza virus
              Race/Pathovar  
              Strain/Type/Serotype  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรคทริสเตซ่าส้ม
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  citrus tristeza

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

ลักษณะอาการหลัก: เส้นใบใส (vein clearing) เป็นขีดสั้นๆ สังเกตได้ง่ายโดยเอาใบอ่อนมาส่องแสงแดด ใบกรณีพันธุ์อ่อนแอหรือเชื้อมีสายพันธุ์รุนแรงเส้นขีดโปร่งใสดังกล่าวจะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก อาจเชื่อมถึงกันเป็นแนวยาวตลอดเส้นใบ ใบลดขนาดโค้งงอคล้ายรูปถ้วยหรือบิดเบี้ยว ใบอ่อนหรือใบที่แตกใหม่จะหลุดร่วงง่าย กิ่งแห้งตาย ลำต้นบริเวณเนื้อไม้ใต้เปลือกเป็นรู (stem pitting) ผลมีขนาดเล็ก ต้นที่เป็นโรครุนแรงจะพบอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรมและตายในที่สุด
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ,กิ่งก้าน,ลำต้น,ผล
symptom keyword: vein clearing, leaf rolling, stem pitting, die back,slow decline, quick decline

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

พืชตระกูลส้ม : (Citrus sp.)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

None Data

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

-แพร่ระบาดโดยการติดไปกับท่อนพันธุ์และแมลงพาหะ
-ถ่ายทอดโรคผ่านการติดตา ทาบกิ่งและกิ่งตอน

พาหะ (Vector)

เพลี้ยอ่อนส้ม (Oriental citrus aphid: Toxoptera citricidus)

การแพร่กระจาย (Distribution)

แพร่ระบาดโดยการติดไปกับท่อนพันธุ์และแมลงพาหะ ถ่ายทอดโรคผ่านการติดตา ทาบกิ่งและกิ่งตอน  

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

วิธีการควบคุม (Control measure)

-คัดเลือกท่อนพันธุ์ก่อนนำมาปลูก ท่อนพันธุ์ที่ใช้ควรผ่านการทดสอบแล้วว่าปราศจากโรคทริสเตซา หรือคัดเลือกขยายพันธุ์จากต้นที่มีลักษณะแข็งแรงทนทานต่อโรค ทำลายพืชที่เป็นโรค จากการศึกษาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคทริสเตซาในประเทศ ชี้ให้เห็นว่าต้นส้มส่วนใหญ่มีเชื้อ CTV การทำลายพืชทุกต้นที่เป็นโรคจึงเป็นไปไม่ได้ แต่ชาวสวนควรหมั่นสังเกตต้นส้มที่แสดงอาการรุนแรง เช่น มะนาวที่ใบเล็กและหงิกงอ ต้นเตี้ยแคระ ส้มเขียวหวานที่แสดงอาการต้นโทรม ใบเรียวเล็ก ใบสีเหลืองซีด ควรขุดทำลายเสียเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อซึ่งอาจเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงแล้วปลูกทดแทนด้วยต้นพันธุ์ดี
-ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูส้มอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้การควบคุมเพลี้ยอ่อนพาหะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีส่วนลดปริมาณของเพลี้ยจั๊กจั่นพาหะของโรคกรีนนิงส้มด้วย

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] ธีระ สูตะบุตร. 2532. โรคไวรัสและโรคคล้ายไวรัสของพืชสำคัญในประเทศไทย. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 310 หน้า.
[3] สุพัฒน์ อรรถธรรม. 2552. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส. บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด, นนทบุรี. 206 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication