Tomato yellow leaf curl Thailand virus

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Tomato yellow leaf curl Thailand virus
ชื่อพ้อง (Synonym)  Tomato yellow leaf curl virus
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไวรัสใบหงิกเหลืองมะเขือเทศ
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms)  TYLCTHV

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Order  Virus families not assigned to an order
     Family  Geminiviridae
          Genus  Begomovirus
             Species  Tomato yellow leaf curl Thailand virus
              Race/Pathovar  
              Strain/Type/Serotype  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  tomato yellow leaf curl

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

ลักษณะอาการหลัก: ใบหงิกเหลือง ขอบใบม้วนงอ ใบอ่อนที่แตกใหม่มีขนาดเล็กและหงิกงอ ส่วนใบล่างๆ ของต้นขอบใบจะม้วนลงหรือขึ้น ผิวใบไม่เรียบและมีสีเหลือง (chlorosis) ยอดแตกเป็นพุ่ม ต้นชะงักการเจริญเติบโตและแคระแกร็น ดอกร่วงทำให้ผลผลิตลดลงมาก เมล็ดลีบ ถ้าเชื้อเข้าทำลายตั้งแต่ระยะต้นอ่อนพืชจะแสดงอาการรุนแรง ต้นแคระแกร็นมากและไม่ติดผลเลย ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ, กิ่งก้าน, ลำต้น, ดอก, ผล, เมล็ด symptom keyword: yellow leaf curl, stunt

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

มะเขือเทศ : tomato (Lycopersicon esculentum)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

ยาสูบ : tobacco (Nicotiana glutinosa)
แตงไทย, เมล่อน : muskmelon (Cucumis melo)
ฟักทอง : pumpkin (Cucurbita moschata)
พืชตระกูลแตง : (Cucurbita spp.)
ลำโพง : jimson weed (Datura stramonium)

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

พาหะ (Vector)

แมลงหวี่ขาว (whitefly:Bemisia tabaci Genn.)

การแพร่กระจาย (Distribution)

เนื่องจากเชื้อ Tomato yellow leaf curl virus ถ่ายทอดได้ดีด้วยแมลงพาหะ โดยเฉพาะแมลงหวี่ขาวซึ่งสามารถรับเชื้อเพียงครั้งเดียวแล้วถ่ายทอดเชื้อไปยังมะเขือเทศต้นปกติได้หลายครั้งและเป็นเวลานาน ดังนั้นถ้าแปลงปลูกมีโรคและมีการระบาดของแมลงหวี่ขาวจะทำให้โรคนี้ทำความเสียหายให้กับเกษตรกรมาก โรคจะแพร่กระจายไปทั่วแปลงอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยศึกษาโรคนี้มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2512 ในระยะแรกสันนิษฐานว่าเกิดจากการขาดธาตุแคลเซียมหรือเกิดจากเชื้อไวรัสรวมกันมากกว่า 1 ชนิด ใน ปีพ.ศ. 2518 พบว่าโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้โดยวิธีทาบกิ่ง (graft transmission) และแมลงหวี่ขาว แต่ไม่สามารถถ่ายทอดได้โดยวิธีสัมผัส และใน ปีพ.ศ. 2520 จึงยืนยันเป็นที่แน่ชัดว่าโรคนี้ไม่ได้เกิดจากขาดธาตุแคลเซียมและสรุปว่า มีความคล้ายคลึงกับโรค Tomato yellow top และ Tomato yellow leaf curl และในปี พ.ศ. 2526 จึงได้พบว่าเชื้อสาเหตุมีลักษณะเป็นอนุภาคทรงกลมขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18-28 นาโนเมตร อนุภาคมักอยู่เป็นคู่ๆ (geminated) ซึ่งเป็นลักษณะของไวรัสในกลุ่ม Geminivirus

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

วิธีการควบคุม (Control measure)

รองก้นหลุมปลูกด้วยยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึมและฉีดพ่นยาฆ่าแมลงโดยสม่ำเสมอจนมะเขือเทศอายุประมาณ 60-75 วัน แล้วจึงค่อยลดการใช้ยาฆ่าแมลง ถอนต้นเป็นโรคทิ้งทุกระยะการเจริญโดยเฉพาะในระยะหลังย้ายกล้า

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] ธีระ สูตะบุตร. 2532. โรคไวรัสและโรคคล้ายไวรัสของพืชสำคัญในประเทศไทย. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 310 หน้า.
[2] สุพัฒน์ อรรถธรรม. 2552. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส. บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด, นนทบุรี. 206 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication