ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Rice ragged stunt virus
ชื่อพ้อง (Synonym) -
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ไวรัสใบหงิกข้าว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms) RRSV
Order
Family PhytoReoviridae
Genus Oryzavirus
Species Rice ragged stunt virus
Race/Pathovar
Strain/Type/Serotype
ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai) โรคใบหงิกข้าว
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name) rice ragged stunt
ลักษณะอาการหลัก: ต้นแคระแกร็น ใบหงิกและบิดม้วน ขอบใบขาดเป็นริ้ว เส้นใบบวม ไม่ออกดอก stunting, enations on veins of leaves and leaf sheaths, ragged leaves, flower suppression.
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ,ลำต้น,เมล็ด
symptom keyword: Ragged stunt
พืชอาศัยหลัก (Main host)
ข้าว : rice (Oryza sativa)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
ข้าวป่า : wild rice (Oryza barthii, Oryza latifolia, Oryza glaberrima, Oryza nivara)
ข้าวสาลี : wheat (Triticum aestivum)
ข้าวโพด : corn, maize (Zea mays)
ข้าวโอ๊ต : oat (Avena sativa)
ข้าวบาร์เลย์ : barley (Hordeum vulgare)
แพร่ระบาดตามแหล่งปลูกข้าวทั่วไป พบมากในนาชลประทาน เขตภาคกลาง สามารถถ่ายทอดโรคได้โดยแมลงพาหะนำ เพลี้ยกระโดสีน้ำตาล และคงอยู่ในตอซังและหญ้าบางชนิด
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens Stal.,N. bakeri)
พบครั้งแรก พ.ศ. 2519 ในประเทศอินโดนีเซีย ต่อมาระบาดในญี่ปุ่น พ.ศ. 2520 และในประเทศไทยพบครั้งแรกปี พ.ศ. 2521 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
-กำจัดหรือทำลายเชื้อไวรัสโดยไถกลบหรือเผาตอซังในนาที่มีโรค กำจัดวัชพืชโดยเฉพาะวัชพืชใกล้แหล่งน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของแมลงพาหะ
-ใช้พันธุ์ต้านทานที่ทางราชการแนะนำ ปัจจุบันมีพันธุ์ สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 3 และชัยนาท 2 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้พอสมควรแต่ไม่ควรปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ เนื่องจากแมลงสามารถปรับตัวเข้าทำลายพันธุ์ข้าวที่ต้านทานได้
-ใช้สารฆ่าแมลงในระยะที่เป็นตัวอ่อน เช่น ไดโนทีฟูเรน หรือ บูโพรเฟซิน หรือ อีโทเฟนพรอกซ์ ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงผสมกันหลายๆ ชนิดหรือใช้สารฆ่าแมลงผสมสารกำจัดโรคหรือสารกำจัดวัชพืช เพราะอาจทำให้ประสิทธภาพของสารฆ่าแมลงลดลง ไม่ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น ไซเพอร์มิทริน ไซฮาโลทริน เดลต้ามิทริน เนื่องจากสารกลุ่มนี้ไปทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ
-ถ้าปฏิบัติได้ เมื่อมีโรคระบาดรุนแรงควรงดปลูกข้าว 1-2 ฤดู เพื่อตัดวงจรชีวิตแมลงพาหะ
[1] ดารา เจตนะจิตร, นงรัตน์ นิลพานิชย์, พากเพียร อรัญนารถ, วิชิต ศิริสันธนะ, วิชชุดา รัตนากาญจน์, รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์, วันชัย โรจนหัสดิน และ ธัญลักษณ์ อารยาพันธ์. 2550. โรคข้าวและการป้องกันกำจัด. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 76 หน้า.
[2] ดารา เจตนะจิตร, นงรัตน์ นิลพานิชย์, พากเพียร อรัญนารถ, วิชิต ศิริสันธนะ, วิชชุดา รัตนากาญจน์, รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์, เยาวภา ตันติวานิช, วันชัย โรจนหัสดิน และ จรรยา อารยาพันธ์. 2545. คู่มือโรคข้าว. กลุ่มงานวิจัยโรคข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 40 หน้า.
[3] ธีระ สูตะบุตร. 2532. โรคไวรัสและโรคคล้ายไวรัสของพืชสำคัญในประเทศไทย. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 310 หน้า.
[4] สุพัฒน์ อรรถธรรม. 2552. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส. บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด, นนทบุรี. 206 หน้า.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable