Rice tungro spherical virus

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Rice tungro spherical virus
ชื่อพ้อง (Synonym)  Yellow orange leaf virus
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไวรัสใบสีส้มข้าว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms)  RTSV

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Order  Virus families not assigned to an order
     Family  Sequiviridae
          Genus  Waikavirus
             Species  Rice tungro spherical virus
              Race/Pathovar  
              Strain/Type/Serotype  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรคใบสีส้มข้าว
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  rice yellow orange leaf

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

ลักษณะอาการหลัก: ต้นแคระแกร็น ใบมีสีเหลืองสลับเขียวต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เริ่มจากปลายใบเข้าหาโคนใบ ต้นที่เป็นโรคจะเตี้ยแคระแกร็น ช่วงลำต้นสั้นกว่าปกติมาก ใบใหม่ที่โผล่ออกมามีตำแหน่งต่ำกว่าข้อต่อใบล่าสุด ถ้าเป็นรุนแรงอาจตายทั้งกอ ให้ร่วงเล็กหรือไม่ออกรวงเลย และออกรวงล่าช้ากว่าปกติ
ส่วนของพืชที่่ถูกทำลาย: ใบ, ลำต้น, รวง
symptom keyword: yellowing, stunt 

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

ข้าว : rice (Oryza sativa)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

พืชตระกูลหญ้า : grass (Gramineae)

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เป็นแมลงพาหะนำโรค

พาหะ (Vector)

เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (Nephotettix nigropictus Stal.; N. virescens Distant) ถ่ายทอดไวรัสได้ทั้งอนุภาคกลมและอนุภาค bacilliform เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก (Recilia dorsalis Mots.)cถ่ายทอดไวรัสอนุภาคกลมได้เพียงชนิดเดียว

การแพร่กระจาย (Distribution)

ในปี พ.ศ. 2507 พบครั้งแรกในฟิลิปปินส์ ต่อมาพบที่อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย อินเดีย ตามลำดับ ในประเทศไทยเป็นไวรัสข้าวชนิดแรกพบระบาดมากในนาชลประทาน เขตภาคกลาง

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

วิธีการควบคุม (Control measure)

-ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว เช่น กข1 และ กข3
-กำจัดวัชพืชและพืชอาศัยของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะนำโรค
-ใช้สารฆ่าแมลงในระยะที่เป็นตัวอ่อน เช่น ไดโนทีฟูเรน หรือ บูโพรเฟซิน หรือ อีโทเฟนพรอกซ์ ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงผสมกันหลายๆ ชนิดหรือใช้สารฆ่าแมลงผสมสารกำจัดโรคหรือสารกำจัดวัชพืช เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงลดลง ไม่ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น ไซเพอร์มิทริน ไซฮาโลทริน เดลต้ามิทริน เนื่องจากสารกลุ่มนี้ไปทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ
-ถ้าปฏิบัติได้ เมื่อมีโรคระบาดรุนแรงควรงดปลูกข้าว 1-2 ฤดู เพื่อตัดวงจรชีวิตแมลงพาหะ

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] ดารา เจตนะจิตร, นงรัตน์ นิลพานิชย์, พากเพียร อรัญนารถ, วิชิต ศิริสันธนะ, วิชชุดา รัตนากาญจน์, รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์, วันชัย โรจนหัสดิน และ ธัญลักษณ์ อารยาพันธ์. 2550. โรคข้าวและการป้องกันกำจัด. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 76 หน้า.
[2] ดารา เจตนะจิตร, นงรัตน์ นิลพานิชย์, พากเพียร อรัญนารถ, วิชิต ศิริสันธนะ, วิชชุดา รัตนากาญจน์, รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์, เยาวภา ตันติวานิช, วันชัย โรจนหัสดิน และ จรรยา อารยาพันธ์. 2545. คู่มือโรคข้าว. กลุ่มงานวิจัยโรคข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 40 หน้า.
[3] ธีระ สูตะบุตร. 2532. โรคไวรัสและโรคคล้ายไวรัสของพืชสำคัญในประเทศไทย. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 310 หน้า.
[4] สุพัฒน์ อรรถธรรม. 2552. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส. บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด, นนทบุรี. 206 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication