Sunflower leaf curl virus

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Sunflower leaf curl virus
ชื่อพ้อง (Synonym)  
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไวรัสใบหงิกทานตะวัน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms)  SuLCV

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Order  Virus families not assigned to an order
     Family  Geminiviridae
          Genus  Begomovirus
             Species  Sunflower leaf curl virus
              Race/Pathovar  
              Strain/Type/Serotype  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรคใบหงิกทานตะวัน
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  sunflower leaf curl

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

ลักษณะอาการหลัก: ใบยอดเริ่มมีอาการม้วนงอขึ้นหรือลง เนื้อใบเป็นคลื่นไม่เรียบ เส้นใบบริเวณด้านใต้ใบโป่งนูนและบางครั้งพบเป็นติ่งสีเขียวเข้มยื่นออกมาจากเส้นใบ ถ้าเป็นโรครุนแรงต้นแคระแกร็นและผลผลิตลดลง เมล็ดไม่สมบูรณ์
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ, ลำต้น
symptom keyword: leaf curl,  stunt

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

ทานตะวัน : common sunflower (Helianthus annuus)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

มะเขือเทศ : tomato (Lycopersicon esculentum)

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

โดยแมลงพาหะ

พาหะ (Vector)

แมลงหวี่ขาวยาสูบ (whitefly: Bemisia tobaci)

การแพร่กระจาย (Distribution)

พบครั้งแรกในประเทศไทย เริ่มพบระบาดรุนแรงในปี พ.ศ. 2542 บนพันธุ์ Teddy Bear ซึ่งเป็นพันธุ์แคระที่ปลูกเป็นไม้กระถาง ที่จังหวัดชัยนาท ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 พบอาการของโรคในทานตะวันหลายสายพันธุ์ เช่น SF 95-19 และ NSH 35-1 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครราชสีมา

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

วิธีการควบคุม (Control measure)

-ถอนและทำลายต้นเป็นโรคทิ้งทุกระยะการเจริญโดยเพื่อกำจัดแหล่งสะสมของไวรัส
-กำจัดวัชพืชรอบแปลงปลูกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของโรคและแมลงพาหะ
-ไม่ปลูกถั่วเหลืองใกล้แปลงมะเขือเทศซึ่งเป็นพืชอาศัยของโรคนี้
-ติดกับดักกาวเหนียวสีเหลืองรอบแปลงเพื่อเตือนการระบาดของแมลงหวี่ขาว
-ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงใต้ใบเมื่อพบแมลงหวี่ขาวระบาดมาก เช่น อิมิดาโคลพริด หรือปิโตรเลียมออยล์ โดยฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน และไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันหลายครั้ง

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร. 2545. โรคไวรัสที่สำคัญของพืชผักและพืชน้ำมัน. กลุ่มงานไวรัสวิทยา กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 88 หน้า.
[2] สุพัฒน์ อรรถธรรม. 2552. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส. บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด, นนทบุรี. 206 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication