ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Tomato leaf curl New Delhi virus
ชื่อพ้อง (Synonym)
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ไวรัสใบหงิกมะเขือเทศนิวเดลี
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms) ToLCNDV
Order Unassigned
Family Geminiviridae
Genus Begomovirus
Species Tomato leaf curl New Delhi virus
Race/Pathovar
Strain/Type/Serotype
ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai) โรคใบหงิกเหลืองบวบเหลี่ยม, โรคใบหงิกเหลืองแตงกวา, โรคใบหงิกเหลืองน้ำเต้า, โรคใบหงิกเหลืองแคนตาลูป
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name) Angled luffah yellow leaf curl
Cucumber yellow leaf curl
Bottle gourd yellow leaf curl
Muskmelon yellow leaf curl
ลักษณะอาการหลัก: บวบเหลี่ยม: ใบยอดมีอาการด่างเหลืองและเป็นจุดสีเหลือง ใบหด มีขนาดเล็กลงกว่าปกติ ใบล่างเป็นจุดสีเหลือง ใบเหลือง ผลมีรูปร่างผิดปกติ แตงกวา: ใบเหลืองทั้งใบ ขอบใบม้วนเข้าหากัน ใบอ่อนเหลืองมีขนาดเล็กลง ผลสีซีด น้ำเต้า: ใบเหลือง ด่างเหลือง ใบยอดหงิกเหลือง ขนาดเล็กลง แคนตาลูป, แตงเทศ: ใบหงิกและด่างเหลือง ใบแก่เหลืองและกรอบ ลำต้นบิดเบี้ยว ผลสีซีด
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ ลำต้น ผล
symptom keywords: leaf puckering, distortion, curling, vein clearing, yellow mosaic
พืชอาศัยหลัก (Main host)
พืชวงศ์แตง : Cucurbitaceae ()
พืชสกุลพริก : Capsicum ()
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
ผักหวาน : Sweet leaf bush (Sauropus angrogynus)
เชื้ออยู่ข้ามฤดูในวัชพืชต่างๆ โดยไม่แสดงอาการ และในพืชอาศัยรองเช่นผักหวานบ้าน
แมลงหวี่ขาว Bemisia tabaci Genn. การปลูกเชื้อด้วยวิธีกล (mechancal inoculation)
ในประเทศไทย พบในพืชตระกูลแตงเป็นหลัก ได้แก่ พบในบวบเหลี่ยมเป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2542 ต่อมาพบในแตงกวา (พ.ศ. 2539) น้ำเต้าและเมลอน (พ.ศ. 2543) ต่อมามีรายงานพบเชื้อนี้ในผักหวาน (พ.ศ.2558)ร่วมกับไวรัสชนิดอื่นๆ ทุกตัวอย่างที่ศึกษาเก็บจากแปลงปลูกที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ในต่างประเทศ พบครั้งแรกในมะเขือเทศประเทศอินเดีย (พ.ศ.2538) ต่อมาพบในพืชตระกูลแตง มะเขือ พริก มันฝรั่ง ทั้งในประเทศอินเดียและอักหลายประเทศ เช่น อิหร่าน ปากีสถาน จีน สเปน มาเลเซีย เวียตนาม อินโดนีเซีย โซนยุโรป (EPPO region): Italy (Sicilia,2015), Spain (2012), Tunisia (January 2015).
โซนเอเซีย (Asia): Bangladesh, India (Andhra Pradesh, Delhi, Gujarat, Haryana, Maharashtra, Punjab, Uttar Pradesh, West Bengal, Indonesia (Java), Pakistan, Philippines, Sri Lanka, Taiwan.
มีพืชวงศ์แตงและมะเขือปลูกอยู่ตลอดปี ทำให้มีพืชอาหารของแมลงหวี่ขาวที่เป็นพาหะนำเชื้อไปยังพืชอาศัยได้ตลอดปี เป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาดของเชื้อ
เชื้อ Tomato leaf curl New Delhi virus สามารถถ่ายทอดได้โดยแมลงหวี่ขาว และด้วยวิธีกล การป้องกันกำจัดจึงควรใช้วิธีควบคุมประชากรแมลงหวี่ขาว ร่วมกับการระมัดระวังหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์เกษตรที่ใช้ตัดแต่งกิ่งพืชและผลลผลิตให้สะอาด ไม่ให้ถ่ายทอดโรคถึงกัน
[1] เยาวภา ตันติวานิช; พิสสวรณ เจียมสมบัติ สุพัฒน์ อรรถธรรม อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์. 2542. เจมินีไวรัสชนิดใหม่สาเหตุโรคใบหงิกเหลืองของบวบเหลี่ยม.การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 37 สาขาพืช 3-5 กุมภาพันธ์ 2542 หน้า 217-226.
[2] เยาวภา ตันติวานิช พิสสวรรณ เจียมสมบัติ 2545.การโคลนยีนและการศึกษาโครงสร้างจีโนมของเจมินีไวรัสที่เป็นสาเหตุโรคใบหงิกเหลืองของบวบเหลี่ยม. วารสารโรคพืช ปีที่ 16 (มกราคม-ธันวาคม): 1-14.
[3] Ito T, Sharma P, Kittipakorn K, Ikegami M. 2008. Complete nucleotide sequence of a new isolate of tomato leaf curl New Delhi virus infecting cucumber, bottle gourd and muskmelon in Thailand. Archives of Virology 153: 611-613.
[4] Shih S.L.; Tsai W.S.; Lee L.M.; Kenyon L. 2013, Molecular characterization of begomoviruses infecting Sauropus androgynus in Thailand. Journal of Phytopathology 161: 78-85.
[5] Srivastava K M, Hallan V, Raizada R K, Chandra G, SinghB P, Sane P V. 1995. Molecular cloning of Indian tomatoleaf curl virus genome following a simple method ofconcentrating the supercoiled replicative form of viral DNA.Journal of Virological Methods 51:297-304.
[6] Varma A, Malathi VG. Emerging geminivirus problems: a serious threat to crop production. Ann Appl Biol. 2003;142:145–64.
[7] Jyothsna P, Haq QM, Singh P, Sumiya KV, Praveen S, Rawat R, Briddon RW, Malathi VG. Infection of tomato leaf curl New Delhi virus (ToLCNDV), a bipartite begomovirus with betasatellites, results in enhanced level of helper virus components and antagonistic interaction between DNA B and betasatellites. Appl Microbiol Biotechnol. 2013 Jun;97(12):5457-71.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable