Peanut yellow spot virus

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Peanut yellow spot virus
ชื่อพ้อง (Synonym)  Groundnut yellow spot virus
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไวรัสใบจุดเหลืองถั่วลิสง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms)  PYSV

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Order  Virus families not assigned to an order
     Family  Bunyaviridae
          Genus  Tospovirus
             Species  Peanut yellow spot virus
              Race/Pathovar  
              Strain/Type/Serotype  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรคใบจุดเหลืองถั่วลิสง
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  peanut yellow spot

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

ลักษณะอาการหลัก: เริ่มจากจุดเหลืองซีดบริเวณเส้นใบหรือเส้นกลางใบของส่วนกลางหรือส่วนล่างของลำต้น ถ้าอาการรุนแรงจุดสีเหลืองมักขยายใหญ่และรวมตัวกัน ทำให้เกิดลักษณะด่างเป็นจ้ำสีเหลืองสลับสีเขียว บางครั้งจึงเรียกโรคนี้ว่าโรคใบด่างเหลือง ต่อมาใบหลุดร่วงหรือถูกเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ โดยปกติอาการของโรคพบเฉพาะบนใบที่เชื้อเข้าทำลายเท่านั้น ไม่แพร่กระจายไปทั่วต้นใบ 
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย:
symptom keyword: Yellow spot, Yellow mosaic, necrosis

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut (Arachis hypogaea)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

ถั่วฝักยาว : yard long bean (Vigna sesquipedalis)
ยาสูบ : tobacco (Nicotiana sp.)

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

แพร่ระบาดโดยแมลงพาหะ คือ เพลี้ยไฟ ถ่ายทอดได้โดยวิธีกลและถ่ายทอดโรคโดยวิธีทาบกิ่ง

พาหะ (Vector)

เพลี้ยไฟ (Scirtothrips dorsalis)

การแพร่กระจาย (Distribution)

พบระบาดในแปลงปลูกทั่วลิสงทั่วไป และเริ่มมีความสำคัญต่อผลผลิตถั่วลิสง ประมาณปี พ.ศ. 2526 มักพบปะปนกับโรคใบด่างและโรคยอดไหม้

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

วิธีการควบคุม (Control measure)

-ใช้สารเคมีกำจัดแมลงที่ได้ผลดีคือ คาร์โบฟูแรน 3% จี ใช้ในรูปเม็ดใส่ลงดิน และสารฆ่าแมลงที่ใช้ฉีดพ่นทางใบ เช่น ไตรอะโซฟอส คาร์โบซัลแฟน อะซีเฟต หรือเมทิโอคาร์บ
-เมื่อพบเพลี้ยไฟเริ่มระบาดโดยเฉพาะในระยะกล้า ใช้วิธีทางเขตกรรม เช่น การเลื่อนฤดูปลูก การปรับระยะปลูกให้ถี่ขึ้น การปลูกพืชแซม การกำจัดพืชอาศัยและวัชพืช ทำลายต้นเป็นโรค
-เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกต้องปราศจากโรค ไม่เหี่ยวย่น เปลือกไม่ปริแตกหรือด่าง
-ใช้พันธุ์ต้านทาน

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร. 2545. โรคไวรัสที่สำคัญของพืชผักและพืชน้ำมัน. กลุ่มงานไวรัสวิทยา กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 88 หน้า.
[2] สุพัฒน์ อรรถธรรม. 2552. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส. บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด, นนทบุรี. 206 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication