ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Chilli veinal mottle virus
ชื่อพ้อง (Synonym) chilli vein-banding mottle virus
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ไวรัสเส้นใบด่างประพริก
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms) ChiVMV
Order Virus families not assigned to an order
Family Potyviridae
Genus Potyviru
Species Chilli veinal mottle virus
Race/Pathovar
Strain/Type/Serotype
ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai) โรคใบด่างประพริก
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name) chiili veinal mottle
ลักษณะอาการหลัก: อาการของโรคขึ้นกับชนิดหรือพันธุ์พริกและระยะเวลาที่เกิดโรค อาการโรคเกิดขึ้นเร็วและรุนแรงในขณะที่ต้นพริกยังเล็ก ต้นจะเตี้ยและแตกพุ่มด้านข้างน้อยลง ใบพริกที่เป็นโรคจะแสดงอาการด่างสีเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับสีเขียวเข้ม และมีขีดหรือจุดหรือหย่อมเป็นประสีเขียวตสมเส้นใบ อาการด่างมองเห็นได้ชัดเจนบนใบอ่อน ใบเป็นโรคบางครั้งมีขนาดเล็ก บิดเบี้ยว เรียวยาว ลดรูป ต้นที่เป็นโรคจะติดดอกและให้ผลน้อยลง และผลมีขนาดเล็กกว่าปกติ บางครั้งผลด่างและบิดเบี้ยว
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ,กิ่งก้าน,ลำต้น,ดอก,ผล
symptom keyword:
พืชอาศัยหลัก (Main host)
พริก, พริกหวาน, พริกชี้ฟ้า : chili, pepper, bell pepper, goat pepper (Capsicum annuum)
พริก : pepper (Capsicum chinensis)
พริกขี้หนู : bird pepper (Capsicum frutescens)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
มะเขือเทศ : tomato (Lycopersicon esculentum)
พิทูเนีย : Petunia (Petunia hybrida)
ยาสูบ : tobacco (Nicotiana clevelandii, Nicotiana glutinosa, Nicotiana megalosiphon, Nicotiana tabacum)
ลำโพง : jimson weed (Datura stramonium)
โทงเทง : cutleaf groundcherry (Physalis minima)
-แพร่ระบาดโดยแมลงพาหะ คือ เพลี้ยอ่อน
-ถ่ายทอดได้โดยวิธีกล เช่น ผ่านการเสียบกิ่งจากต้นพริกที่เป็นโรค
เพลี้ยอ่อน (aphid: Aphis craccivora, Aphis gossypii, Aphis spiraecola, Hysteroneura setarieae, Myzus persicae, Rhopalosiphum maidis, Toxoptera citricidus)
-เพาะกล้าพริกในมุ้งกันแมลงจนกระทั่งมีอายุประมาณ 60 วันหรือเมื่อออกดอกชุดแรกจึงทำการย้ายปลูก คัดเลือกต้นกล้าพริกที่แข็งแรงและปราศจากโรคไปปลูกเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีต้นเป็นโรคไปเป็นแหล่งแพร่เชื้อไวรัสในไร่ และเพื่อให้ต้นกล้าพริกปลอดจากไวรัสจนกระทั่งมีความต้านทานโรคตามธรรมชาติเสียก่อน
-หมั่นตรวจดูต้นพริกในแปลงปลูกเสมอ เมื่อพบต้นเป็นโรครีบถอนและทำลายทิ้งทันที แล้วปลูกซ่อมด้วยต้นกล้าที่ปราศจากโรค
-พ่นสารกำจัดแมลงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยอ่อนในระยะต้นกล้าสัปดาห์ละครั้ง และพ่นตามความจำเป็นเมื่อพริกโตขึ้น
-หมั่นทำความสะอาดแปลงปลูกและรอบๆ แปลงปลูกอยู่เสมอ ไม่ให้มีวัชพืชขึ้นรกเพื่อลดแหล่งเพาะไวรัสและแมลงพาหะ ปลูกพืชหมุนเวียน โดยเลือกพืชที่ไม่ใช่พืชอาศัยของไวรัสปลูกสลับกับพริกเพื่อตัดวงจรของแหล่งเพาะเชื้อไวรัส ใช้แผ่นพลาสติกสีเงินคลุมแปลงปลูกเพื่อไล่เพลี้ยอ่อนที่เป็นพาหะของไวรัสไปจากพริก
-ปลูกพริกพันธุ์ต้านทานหรือพันธุ์ที่ทนทานต่อไวรัส
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร. 2545. โรคไวรัสที่สำคัญของพืชผักและพืชน้ำมัน. กลุ่มงานไวรัสวิทยา กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 88 หน้า.
[3] สุพัฒน์ อรรถธรรม. 2552. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส. บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด, นนทบุรี. 206 หน้า.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable