Fiji disease virus

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Fiji disease virus
ชื่อพ้อง (Synonym)  Sugarcane fiji virus
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไวรัสฟิจิอ้อย
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Acronyms)  FDV

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Order  
     Family  Unassigned virus family
          Genus  Fijivirus
             Species  Fiji disease virus
              Race/Pathovar  
              Strain/Type/Serotype  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรคฟิจิอ้อย
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  sugarcane Fiji

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

ลักษณะอาการหลัก:  อาการแรกเริ่มมีลักษณะคล้ายกับอ้อยปกติเพียงแต่ใต้ใบมีรอยนูน (gall) สีไม่แตกต่างจากสีของใบปกติ ขนาดกว้างประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร ยาว 1-2 มิลลิเมตร ยาวไปตามความยาวของใบ ขนาดของรอยนูนอาจกว้างได้มาก 2-3 มิลลิเมตร ยาว 5 มิลลิเมตร สูงขึ้นมาจากผิวใบ 1-2 มิลลิเมตร
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ,กาบใบ,ลำต้น
symptom keyword:  Gall

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

อ้อย : sugarcane (Saccharum officinarum)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

ข้าวฟ่าง : sorghum (Sorghum bicolor)
ข้าวโพด : corn, maize (Zea mays)

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

ติดไปกับท่อนพันธุ์และแมลงพาหะคือเพลี้ยจักจั่น

พาหะ (Vector)

(Perkinsiella saccharicida Kirk,P.vastatrix) (เพลี้ยจักจั่น : delphacid plant hoppers)

การแพร่กระจาย (Distribution)

จากอดีตมาจนถึงปี พ.ศ. 2524 รายงานพบโรคฟิจิแพร่ระบาดในจังหวัดชลบุรี ระยอง และสุพรรณบุรี แต่ยังไม่มีรายงานถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้นักวิชาการหลายท่านเข้าใจว่าโรคนี้ถูกกำจัดหมดไปจากประเทศไทยแล้ว ต่อมาปี พ.ศ. 2525 โรคนี้เข้าทำลายและแพร่ระบาดในอ้อยพันธุ์ Q 83 ที่ปลูกในแถบจังหวัดกาญจนบุรีอีก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

วิธีการควบคุม (Control measure)

-ปลูกอ้อยพันธุ์ต้านทานโรค เช่น Co 27,Co 290,Co 449,POJ 36,POJ 213,POJ 234,CP 29/116,Ragnar
-หมั่นตรวจไร่อ้อย ถ้าพบโรคนี้ให้ทำลายทันที
-ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากโรค โดยนำพันธุ์มาจากแหล่งที่ไม่เคยมีโรคเกิดขึ้นหรือปลูกอ้อยไว้ทำพันธุ์เอง แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน 52 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 30 นาที ในการปลูกอ้อยครั้งหนึ่งๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เป็นอ้อยตอหลายปี
-ทำลายพืชอาศัยวัชพืชต่างๆ ในแปลงปลูก ฉีดยากำจัดแมลงที่อาจเป็นพาหะของโรคนี้

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] ธีระ สูตะบุตร. 2532. โรคไวรัสและโรคคล้ายไวรัสของพืชสำคัญในประเทศไทย. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 310 หน้า.
[2] สุพัฒน์ อรรถธรรม. 2552. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส. บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด, นนทบุรี. 206 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication