ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Aceria sandorici (Nalepa, 1914)
ชื่อพ้อง (Synonym) Eriophyes sandorici
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ไรกำมะหยี่กระท้อน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) santol erinium mite
Phylum Arthropoda
Class Arachnida
Order Trombidiformes
Family Eriophyidae
Genus Aceria
Species sandorici
ไรชนิดนี้มีลำตัวสีขาวหรือสีครีม ขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ลำตัวแคบยาวเป็นปล้องคล้ายหนอน ยาวประมาณ 0.18 มม. มีขาเพียง 4 ขา ไรกำมะหยี่กระท้อนชอบดูดทำลายทั้งด้านบนใบและใต้ใบตั้งแต่ใบอ่อนจนกระทั่งใบแก่ ในขณะที่ดูดกิน จะปล่อยสารพิษ (toxin) ออกมายังเซลล์ของใบ ทำให้กระตุ้นให้เซลล์ของใบสร้างขนสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่วไปบริเวณผิวใบที่ดูดกินมีลักษณะคล้ายผ้ากำมะหยี่ ซึ่งจะเว้าลึกลง ผิวใบอีกด้านจะพองออก ทำให้ใบหงิกงอเป็นปุ่มปม ในระยะแรกที่ไรลงทำลายขนจะมีสีเขียวอ่อน ต่อมาจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมื่อส่องดูใต้กล้องจุลทรรศน์จะเห็นไรตัวเล็กๆ สีขาวดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผิวใบและซ่อนตัวอยู่ภายใต้เส้นใบนี้ หากมีการทำลายอย่างรุนแรงจะทำให้ใบร่วงในที่สุด ทำให้ต้นที่ยังเล็กอยู่ชะงักการเจริญเติบโต ส่วนต้นที่ให้ผลแล้วอาจมีผลทำให้ผลผลิตลดลง
พืชอาศัยหลัก (Main host)
กระท้อน : sentul, santol, red sentol, yellow sentol (Sandoricum koetjape)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
None Data
ใบ
พบระบาดในบริเวณที่มีการปลูกกระท้อนทั่วทุกภาค เช่น จังหวัดชัยภูมิ เชียงใหม่ สงขลา สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ
ฤดูกาลระบาด พบในเดือนมิถุนายน-กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับฤดูฝนและฤดูแล้ง
หมั่นตรวจแปลงกระท้อนอย่างสม่ำเสมอทุก 7 วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝน ระยะแรกของการทำลายมีปริมาณไรไม่มากจะสังเกตเห็นขนกำมะหยี่สีเขียวเป็นแอ่งอยู่ตามใบอ่อนเพียงเล็กน้อย ให้ตัดแต่งกิ่งนั้นทิ้งและนำไปเผา ถ้าหากสำรวจแล้วยังพบว่าการทำลายรุนแรงขึ้นหลังตัดแต่งกิ่งให้พ่นสารกำจัดไรเช่น amitraz หรือ sulfer (80℅ ชนิดผง) โดยพ่นให้ทั่วทั้งบนใบและใต้ใบให้ทั่วทั้งต้นและควรพ่นซ้ำอีกครั้งเมื่อพบว่ามีอาการทำลายเกิดขึ้นอีก
[1] Global Biodiversity Information Facility. 2015. URL http://www.gbif.org/species/2131126
[2] ไทยเกษตรศาสตร์. ไรศัตรูกระท้อนและแนวทางในการจัดการ. URL www.thaikasetsart.com
[3] วัฒนา จารณศรี. 2537. ไรกำมะหยี่กระท้อน. วารสารกีฎและสัตววิทยา. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1
พิพิธภัณฑ์ไร กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable