Tetranychus macfarlanei Baker and Pritchard

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Tetranychus macfarlanei Baker and Pritchard
ชื่อพ้อง (Synonym)  
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไรแดงกระเจี้ยบ
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  Okra red mite

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Arthropoda
    Class  Arachnida
       Order  Trombidiformes
           Family  Tetranychidae
              Genus  Tetranychus
                Species  macfarlanei

ลักษณะการทำลาย (Infestation)

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดทำลายอยู่ที่บริเวณใต้ใบ บริเวณหน้าใบมีลักษณะเป็นปื้นสีเหลืองหรือสีขาว หากระบาดรุนแรง อาจทำให้ใบร่วง ต้นพืชหยุดชะงักการเจริญเติบโต และมีผลกระทบต่อผลผลิตได้  

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

กระเจี๊ยบเขียว : okra (Abelmoschus esculentus)
มะเขือยาว : egg plant (Solanum melongena)
ถั่วฝักยาว : yardlong bean, asparagus bean (Vigna unguiculata sesquipedalis)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

น้ำเต้า : bottle gourd (Lagenaria siceraria)
ถั่วพู : winged bean (Psophocarpus tetragonolobus)
แตงไทย, เมล่อน : muskmelon (Cucumis melo)
ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut (Arachis hypogaea)
ถั่วเขียว : Mung BeanGreen BeanGreen GramGolden Gram (Vigna radiata)

ส่วนของพืชที่ใช้เป็นที่อาศัย (Harboring plant part)

ใบ ฝัก ผล

การแพร่กระจาย (Distribution)

พบระบาดบนกระเจี้ยบเขียวและถั่วฝักยาวที่ปลูกในภาคกลางของประเทศ ในต่างประเทศพบในประเทศ India, Spain, Madagascar, Mauritius

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (Favorable condition)

สภาพอากาศร้อน แห้งแล้ง ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

1. พบในประเทศไทย ตัวห้ำ ได้แก่ Amblyseius longispinosus (Evans), Amblyseius syzygii Gupta, Amblyseius cinctus Corpus and Rimando, Phytoseius hawaiiensis Prasad (ไรตัวห้ำ:predatory mite) 2. พบในต่างประเทศ ตัวห้ำ ได้แก่ Amblyseius alstoniae (ไรตัวห้ำ:predatory mite), Scolothrips indicus (เพลี้ยไฟตัวห้ำ: predatory thrips)

วิธีการควบคุม (Control measure)

พ่นสารป้องกันกำจัดไรแดงกระเจี้ยบ ตามอัตราที่แนะนำ

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Crop Protection Compendium. 2014. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Global Biodiversity Information Facility. 2015. URL http://www.gbif.org/species/2131126
[3] กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2543. ไรศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ. 192 หน้า.
[4] กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2556. คู่มือตรวจไรศัตรูพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สาขา 4, จ.นนทบุรี. 140 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

พิพิธภัณฑ์ไร กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication