ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Dolichocybe indica Mahunka
ชื่อพ้อง (Synonym)
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ไรลูกโป่ง, ไรเห็ด
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) Dolichocybid mite
Phylum Arthropoda
Class Arachnida
Order Trombidiformes
Family Dolichocybidae
Genus Dolichocybe
Species indica
ไรเข้าทำลายเส้นใยเห็ดได้ทุกระยะการเพาะเห็ด ตั้งแต่ระยะเลี้ยงเชื้อเห้ดในอาหารวุ้น ระยะที่เชื้อเจริญอยู่ในขวดหัวเชื้อที่เพาะบนเมล็ดข้าวฟ่าง และระยะที่เชื้อเห็ดย้ายมายังถุงก้อนเชื้อเห็ดเพื่อเปิดดอก ถุงก้อนเชื้อที่มีไรเข้าทำลายอยู่ภายใน จะไม่สามารถเจริญเติบโตให้ดอกเห็ดได้ตามปกติ ไรจะทำลายกัดกินเส้นใยเห็ด ทำให้เส้นใยเห็ดที่กำลังเจริญเติบโตหายไป เหลือแต่วัสดุเพาะเป็นสีน้ำตาล
พืชอาศัยหลัก (Main host)
เห็ดเป๋าฮื้อ : abalone mushroom (Pleurotus ostreatus)
เห็ดนางรม : oyster mushroom (Pleurotus ostreatus)
เห็ดนางรมภูฏาน : Indian oyster, phoenix mushroom (Pleurotus sajor-caju)
เห็ดหูหนู : Jew's ear mushroom (Auricularia auricula-judae)
เห็ดยานางิ : Yanagi matsutake mushroom (Agrocybe cylindracea)
เห็ดหอม : Shiitake mushroom (Lentinus edodes)
เห็ดขอนขาว : log white fungi (Lentinus squarrosulus)
เห็ดแครง : split gill (Schizophyllum commune)
เห็ดฟาง : straw mushroom (Volvariella volvacea)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
None Data
เส้นใยเชื้อเห็ด ในจานเลี้ยงเชื้อ ในขวดหัวเชื้อ ในถุงก้อนเชืัอ
ไรในระยะก่อนท้องที่อยู่ในขวดหัวเชื้อและถุงก้อนเชื้อเห็ด เป็นระยะแพร่พันธุ์ สามารถแพร่กระจายสู่ภายนอกและเข้าทำลายก้อนเชื้อเห็ดในบริเวณใกล้เคียงทางจุกสำลีที่อุดปวกขวดหรือปากถุงก้อนเชื้อเห็ด เนื่องจากไรมีขนาดเล็กมาก จึงมองเห็นเหมือนฝุ่นละอองเกาะอยู่ทั่วๆไป บริเวณปากถุง และชั้นวางถุงเห็ด เมื่อไรพบแหล่งอาหารจึงเริ่มเกาะนิ่งบริเวณข้างถุงและตั้งท้องออกลูกแพร่พันธุ์ต่อไป พบระบาดในแหล่งเพาะเห็ดทั่วประเทศ
สภาพอากาศร้อน อบชื้น
-ทำความสะอาดตู้เขี่ยเชื้อเห็ด และโรงเรือนให้ปราศจากไร
-ระวังการปนเปื้อนของไรในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการผลิตหัวเชื้อเห็ด
-ทำลายก้อนเชื้อที่มีไรโดยนำไปทิ้งให้ห่างจากโรงเรือน ไม่ให้เป็นแหล่งแพร่พันธุ์
-หากพบว่ามีไรเข้าทำลายอยู่ในถุงก้อนเชื้อ ให้พ่นสารฆ่าไร อัตราการใช้ตามคำแนะนำในฉลาก ข้อควรระวัง คือ ใช้พ่นในระยะบ่มเส้นใยเท่านั้น เพื่อไม่ให้พิษของสารฆ่าไรตกค้างในดอกเห็ด
[1] Kantaratanakul, S. W. Chaiwat, and P. Prayoonrat. 1989. Bionomics of the Dolicocybid mite, Formicomotes sp., as a pest of cultivated mushroom in Thailand. P. 223-228. In Progress in Acarology. Volume 2. Edited by G. P. Channabasavanna and C. A. Viraktamath.
[2] กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2556. คู่มือตรวจไรศัตรูพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สาขา 4, จ.นนทบุรี. 140 หน้า.
[3] พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์, อัจฉรา พยัพพานนท์, มานิตา คงชื่นสิน และพลอยชมพู กรวิภาสเรือง. 2553. การศึกษาชีววิทยาและการป้องกันกำจัดไรลูกโป่ง Dolichocybe indica Mahunka ในเห็ดโดยการใช้สารฆ่าไร. ผลงานวิจัย ปี 2553 กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. คลังผลงานวิจัยและเอกสารเผยแพร่ กรมวิชาการเกษตร URL www.doa.go.th/research/showthread.php?tid=665
พิพิธภัณฑ์ไร กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable