ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Formicomotes heteromorphus Magowski
ชื่อพ้อง (Synonym)
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ไรดีด, ไรเห็ด
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) mushroom mite
Phylum Arthropoda
Class Arachnida
Order Trombidiformes
Family Pygmephoridae
Genus Formicomotes
Species heteromorphus
ไรชนิดนี้ชอบทำลายเห็ดในระยะที่เส้นใยกำลังเจริญเติบโตอยู่ในถุงก้อนเชื้อ ทั้งในระยะบ่มเส้นใยและในระยะเปิดดอก ทำให้เส้นใยเห็ดฝ่อไปเหลือแต่วัสดุที่เพาะเห็ดซึ่งเป็นก้อนขี้เลื่อยสีน้ำตาลภายในเวลา 3-5 วัน ทำให้ไม่ออกดอก ส่วนในระยะเปิดดอก เมื่อถูกไรเข้าดูดทำลายเส้นใยเห็ด จะทำให้ดอกเห็ดแคระแกร็น เสียคุณภาพ นอกจากนี้ไรสามารถดูดทำลายเส้นใยเห็ดในอาหารวุ้นและในขวดห้วเชื้อด้วย
พืชอาศัยหลัก (Main host)
เห็ดเป๋าฮื้อ : abalone mushroom (Pleurotus ostreatus)
เห็ดนางรม : oyster mushroom (Pleurotus ostreatus)
เห็ดเข็มเงิน, เห็ดเข็มทอง, เห็ดเหมันต์ : enokitake ,golden mushroom (Flammulina velutipes)
เห็ดนางรมฮังการี : oyster mushroom (Pleurotus osttreatus)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
None Data
กินเส้นใยเห็ดในจานอาหารเลี้ยงเชื้อ ในขวดหัวเชื้อ ในถุงก้อนเชื้อเห็ดระยะบ่มเส้นใยและระยะเปิดดอก
ไรในระยะก่อนท้องที่อยู่ในขวดหัวเชื้อและถุงก้อนเชื้อเห็ด เป็นระยะแพร่พันธุ์ สามารถแพร่กระจายสู่ภายนอกและเข้าทำลายก้อนเชื้อเห็ดในบริเวณใกล้เคียงทางจุกสำลีที่อุดปวกขวดหรือปากถุงก้อนเชื้อเห็ด เนื่องจากไรมีขนาดเล็กมาก จึงมองเห็นเหมือนฝุ่นละอองเกาะอยู่ทั่วๆไป บริเวณปากถุง และชั้นวางถุงเห็ด เมื่อไรพบแหล่งอาหารจึงเริ่มเกาะนิ่งบริเวณข้างถุงและตั้งท้องออกลูกแพร่พันธุ์ต่อไป พบระบาดในเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางรม เห็ดเข็มเงิน และเห็ดนางรมฮังการี แต่ไม่พบในเห็ดขอนขาว เห็ดหูหนู เห็ดนางฟ้า เห็ดแครง เห็ดกระด้าง เห็ดหลินจือ และเห็ดหอม
ฤดูร้อน
-ทำความสะอาดตู้เขี่ยเชื้อเห็ด และโรงเรือนให้ปราศจากไร
-ระวังการปนเปื้อนของไรในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการผลิตหัวเชื้อเห็ด
-ทำลายก้อนเชื้อที่มีไรไข่ปลาโดยนำไปทิ้งให้ห่างจากโรงเรือน ไม่ให้เป็นแหล่งแพร่พันธุ์
-หากพบว่ามีไรไข่ปลาเขาทำลายอยู่ในถุงก้อนเชื้อ ให้พ่นสารฆ่าไร เช่น อะมิทราซ ไพริดาเบน อัตราการใช้ตามคำแนะนำในฉลาก ข้อควรระวัง คือ ใช้พ่นในระยะบ่มเส้นใยเท่านั้น เพื่อไม่ให้พิษของสารฆ่าไรตกค้างในดอกเห็ด
[1] Vincenzo Vacante. 2016. The Handbook of Mites of Economic Plants: Identification, Bio-Ecology and control. CABI International. www.cabi.org.
[2] กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2556. คู่มือตรวจไรศัตรูพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สาขา 4, จ.นนทบุรี. 140 หน้า.
[3] เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์, อัจฉรา พยัพพานนท์, มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, และ พลอยชมพู กรวิภาสรุ่งเรือง. 2550. การศึกษาความผันแปรจำนวนประชากรของไรดีด Formicomotes heteromorphus Mogowski และไรลูกโป่ง Dolichocybe indica Mahunka ในเห็ด. ผลงานวิจัย ปี 2550 กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. คลังผลงานวิจัยและเอกสารเผยแพร่ กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ. URL http://agkb.lib.ku.ac.th/doa/search_detail/result/163215
พิพิธภัณฑ์ไร กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable