Luciaphorus perniciosus Rack

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Luciaphorus perniciosus Rack
ชื่อพ้อง (Synonym)  
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไรไข่ปลา
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  mushroom mite

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Arthropoda
    Class  Arachnida
       Order  Trombidiformes
           Family  Pygmephoridae
              Genus  Luciaphorus
                Species  perniciosus

ลักษณะการทำลาย (Infestation)

ไรไข่ปลาเข้าทำลายก้อนเชื้อเห็ด เกิดความเสียหายโดยเส้นใยบริเวณที่ผิวติดกับถุงพลาสติกจะถูกดูดทำลาย ไรไข่ปลาจัดได้ว่าเป็นศัตรูที่สำคัญมากของเห็ดหูหนู สามารถเข้าทำลายก่อให้เกิดความเสียหายได้ทุกระยะของการเพาะเห็ด โดยเริ่มทำลายตั้งแต่หัวเชื้อในอาหารวุ้น ขวดหัวเชื้อและถุงก้อนเชื้อทั้งที่เชื้อกำลังเดินและเชื้อเดินเต็มถุงแล้ว ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมากเนื่องจากเห็ดจะไม่ออกดอก นอกจากนี้ไรไข่ปลายังสามารถทำลายดอกเห็ดหูหนูได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มสร้างดอกจนกระทั่งดอกบานเต็มที่ โดยเกาะกินน้ำเลี้ยงทำให้ดอกเห็ดแคระแกรน ไรไข่ปลาสามารถกินเส้นใยเห็ดขอนขาว เห็ดหูหนู เห็ดกระด้าง เห็ดหลินจือและเห็ดเข็มเงิน แต่ไม่สามารถกินเส้นใยเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดนางรมภูฏาน เห็ดนางรมฮังการี เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหอมและเห็ดแครง

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

เห็ดหูหนู : Jew's ear mushroom (Auricularia auricula-judae)
เห็ดขอนขาว : log white fungi (Lentinus squarrosulus)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

เห็ดกระด้าง : hard mushroom (Lentinus polychrous)
เห็ดหลินจือ : ling zhi (Ganoderma lucidum)
เห็ดเข็มเงิน, เห็ดเข็มทอง, เห็ดเหมันต์ : enokitake ,golden mushroom (Flammulina velutipes)

ส่วนของพืชที่ใช้เป็นที่อาศัย (Harboring plant part)

เส้นใยเชื้อเห็ดในอาหารวุ้น ในขวดหัวเชื้อ ในถุงก้อนเชื้อทั้งที่เชื้อกำลังเดินและเชื้อเดินเต็มถุงแล้ว และดอกเห็ด

การแพร่กระจาย (Distribution)

ไรไข่ปลาในระยะก่อนท้องที่อยู่ในขวดหัวเชื้อและถุงก้อนเชื้อเห็ด เป็นระยะแพร่พันธุ์ สามารถแพร่กระจายสู่ภายนอกและเข้าทำลายก้อนเชื้อเห็ดในบริเวณใกล้เคียงทางจุกสำลีที่อุดปวกขวดหรือปากถุงก้อนเชื้อเห็ด เนื่องจากไรมีขนาดเล็กมาก จึงมองเห็นเหมือนฝุ่นละอองเกาะอยู่ทั่วๆไป บริเวณปากถุง และชั้นวางถุงเห็ด เมื่อไรพบแหล่งอาหารจึงเริ่มเกาะนิ่งบริเวณข้างถุงและตั้งท้องออกลูก มองเห็นเป็นเม็ดใสกลมคล้ายไข่ปลา พบระบาดมากในแหล่งเพาะเห็ดหูหนูและเห็ดขอนขาวทั่วประเทศ

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (Favorable condition)

สภาพอากาศร้อน อบชื้น

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

วิธีการควบคุม (Control measure)

-ทำความสะอาดตู้เขี่ยเชื้อเห็ด และโรงเรือนให้ปราศจากไรไข่ปลา
-ระวังการปนเปื้อนของไรไข่ปลาในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการผลิตหัวเชื้อเห็ด
-ทำลายก้อนเชื้อที่มีไรไข่ปลาโดยนำไปทิ้งให้ห่างจากโรงเรือน ไม่ให้เป็นแหล่งแพร่พันธุ์
-หากพบว่ามีไรไข่ปลาเข้าทำลายอยู่ในถุงก้อนเชื้อ ให้พ่นสาร ไพริดาเบน (pyridaben), อะบาเมคติน (abamectin), ไตรอะโซฟอส (triazophos) อัตราการใช้ตามคำแนะนำในฉลาก ข้อควรระวัง คือ ใช้พ่นในระยะบ่มเส้นใยเท่านั้น เพื่อไม่ให้พิษของสารฆ่าไรตกค้างในดอกเห็ด

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Global Biodiversity Information Facility. 2015. URL http://www.gbif.org/species/2131126
[2] กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2543. ไรศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ. 192 หน้า.
[3] กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2556. คู่มือตรวจไรศัตรูพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สาขา 4, จ.นนทบุรี. 140 หน้า.
[4] กองกีฏและสัตววิทยา. 2544. แมลง-ไรศัตรูเห็ดในประเทศไทย. เอกสารวิชาการ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. กรุงเทพฯ. 80 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

พิพิธภัณฑ์ไร กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication