ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Histiostoma bakeri Hughes
ชื่อพ้อง (Synonym)
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ไรขาวใหญ่, ไรเห็ด
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) mushroom mite
Phylum Arthropoda
Class Arachnida
Order Trombidiformes
Family Histiostomatidae
Genus Histiostoma
Species bakeri
ทำลายเส้นใยของเห็ดในระยะที่เส้นใยกำลังเจริญเติบโต ทำให้ปลายเส้นใยหยุดชะงัก ถ้าพบในระยะที่เส้นใยกำลังเดินอยู่ในถุงก้อนเชื้อ พบว่า เมื่อมองทางด้านข้างของถุงจะเห็นเป็นแนวที่เส้นใยหยุดเดินอยู่ในระดับเดียวกัน รอบถุงและปลายเส้นใยจะมีลักษณะไม่ฟูเหมือนเส้นใยปกติ ซึ่งมีลักษณะแตกแขนงฟูเหมือนรากฝอยของพืช เส้นใยที่ถูกทำลายจะไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปจนเต็มถุงได้ และต่อมาเส้นใยจะบางลงเรื่อยๆ จนกระทั่งมองเห็นแต่ขี้เลื่อยสีน้ำตาล เส้นใยไม่สามารถสร้างดอกได้
พืชอาศัยหลัก (Main host)
เห็ดนางรม : oyster mushroom (Pleurotus ostreatus)
เห็ดนางรมภูฏาน : Indian oyster, phoenix mushroom (Pleurotus sajor-caju)
เห็ดยานางิ : Yanagi matsutake mushroom (Agrocybe cylindracea)
เห็ดหอม : Shiitake mushroom (Lentinus edodes)
เห็ดหูหนู : Jew's ear mushroom (Auricularia auricula-judae)
เห็ดเป๋าฮื้อ : abalone mushroom (Pleurotus ostreatus)
เห็ดฟาง : straw mushroom (Volvariella volvacea)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
None Data
เส้นใยเห็ดในจานเลี้ยงเชื้อ ขวดหัวเชื้อ และถุงก้อนเชื้อ
ไม่พบข้อมูลการระบาดในประเทศอื่น ในประเทศไทยพบมีปัญหาในโรงเรือนเพาะเห็ดในภาคกลางและภาคเหนือ การแพร่กระจายเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยไรตัวอ่อนวัย 3 จะเปลี่ยนรูปร่างให้เล็กลงจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เรียกว่า hypopi สามารถอยู่ในที่ๆ มีความชื้นต่ำได้กว่าปกติ อดอาหารได้นานถึง 1-6 วัน ดังนั้นจึงสามารถออกจากก้อนเชื้อเดิมทางจุกสำลีสู่ภายนอก และแพร่กระจายเข้าสู่ถุงก้อนเชื้อข้างเคียงได้
อากาศร้อนชื้น
-ทำความสะอาดตู้เขี่ยเชื้อเห็ด และโรงเรือนให้ปราศจากไร
-ระวังการปนเปื้อนของไรในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการผลิตหัวเชื้อเห็ด
-ทำลายก้อนเชื้อที่มีไร โดยนำไปทิ้งให้ห่างจากโรงเรือน ไม่ให้เป็นแหล่งแพร่พันธุ์
-หากพบว่ามีไรเข้าทำลายอยู่ในถุงก้อนเชื้อ ให้พ่นสารฆ่าไรอัตราการใช้ตามคำแนะนำในฉลาก ข้อควรระวัง คือ ใช้พ่นในระยะบ่มเส้นใยเท่านั้น เพื่อไม่ให้พิษของสารฆ่าไรตกค้างในดอกเห็ด
[1] Chaweewan Hutacharen, Nopachon Tubtim, Chutima Dokmai. 2007. Checklists of insects and mites in Thailand. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Ministry of Natural Resources and Environment. 319 pp.
[2] กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2556. คู่มือตรวจไรศัตรูพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สาขา 4, จ.นนทบุรี. 140 หน้า.
[3] กองกีฏและสัตววิทยา. 2544. แมลง-ไรศัตรูเห็ดในประเทศไทย. เอกสารวิชาการ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. กรุงเทพฯ. 80 หน้า.
พิพิธภัณฑ์ไร กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable