Oligonychus mangiferus (Rahman and Sapra)

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Oligonychus mangiferus (Rahman and Sapra)
ชื่อพ้อง (Synonym)  Paratetranychus mangiferus
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไรแดงมะม่วง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  mango red mite

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Arthropoda
    Class  Arachnida
       Order  Trombidiformes
           Family  Tetranychidae
              Genus  Oligonychus
                Species  mangiferus

ลักษณะการทำลาย (Infestation)

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดทำลายอยู่ที่หน้าใบ ส่วนใหญ่จะเป็นใบแก่เต็มที่ ทำให้ใบบริเวณที่ถูกทำลายมีลักษณะขาวซีด บางครั้งพบในระยะเพสลาด เมื่อไรลงทำลายหน้าใบ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ถ้าระบาดรุนแรง มะม่วงหยุดชะงักการเจริญเติบโตและทิ้งใบได้
 

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

มะม่วง : mango (Mangifera indica)
องุ่น : grape (Vitis vinifera)
มันสำปะหลัง : cassava (Manihot esculenta)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

ชมพู่น้ำดอกไม้ : Rose Apple (Syzygium jambos)
ฝรั่ง : guava (Psidium guajava)
ทับทิม : pomegranate (Punica granatum)
กุหลาบ : rose (Rosa sp.)

ส่วนของพืชที่ใช้เป็นที่อาศัย (Harboring plant part)

ใบ

การแพร่กระจาย (Distribution)

พบทุกแหล่งปลูกมะม่วงในประเทศไทย ในต่างประเทศมีรายงานพบในประเทศอินเดีย เปรู มอริเชียส อิยิปต์ บราซิล อิหร่าน เมียนมาร์ สิงค์โปร์ และหมู่เกาะฮาวาย

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (Favorable condition)

ร้อน แห้งแล้ง

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

1. พบในประเทศไทย ตัวห้ำ ได้แก่ Amblyseius largoensis (ไรตัวห้ำ: predatory mite), A. syzygii (ไรตัวห้ำ: predatory mite), Stethorus pauperculus (ด้วงตัวห้ำ: predatory beetle)
2. พบในต่างประเทศ ตัวห้ำ ได้แก่ Eusieus ovalis (ไรตัวห้ำ: predatory mite), Cheilomenes sexmaculata (ด้วงตัวห้ำ: predatory beetle)  

วิธีการควบคุม (Control measure)

พ่นสารป้องกันกำจัดไรแดงมะม่วง ในอัตราที่แนะนำ

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Crop Protection Compendium. 2014. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Global Biodiversity Information Facility. 2015. URL http://www.gbif.org/species/2131126
[3] Waterhouse, D.F. 1993. The major arthropod pests and weeds of agriculture in Southeast Asia. ACIAR Monograph No. 21. Canberra, Australia: Australian Centre for International Agricultural Research, 141 pp.
[4] Sheikholeslamzadeh S, Sadeghi H, 2010. First records of four mite species (Acari: Tetranychidae) in Iran. Applied Entomology and Phytopathology, 78(1):Pe121-Pe125. URL http://www.sid.ir/en/JournalList.asp?ID=306&Name=APPLIED+ENTOMOLOGY+AND+PHYTOPATHOLOGY
[5] กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2543. ไรศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ. 192 หน้า.
[6] กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2556. คู่มือตรวจไรศัตรูพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สาขา 4, จ.นนทบุรี. 140 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

พิพิธภัณฑ์ไร กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication