ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Raoiella indica Hirst
ชื่อพ้อง (Synonym) Raoiella pandanae, Raoiella phoenica, Raoiella cocosae
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ไรแมงมุมเทียมปาล์ม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) palm false spider mite, red palm mite
Phylum Arthropoda
Class Arachnida
Order Trombidiformes
Family Tenuipalpidae
Genus Raoiella
Species indica
เป็นศัตรูที่สำคัญของมะพร้าว หมาก และปาล์ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดทำลายอยู่ที่บริเวณใต้ใบ การทำลายรุนแรงมากในระยะต้นกล้า มีลักษณะเป็นจุดประสีขาวจางที่บริเวณใต้ใบ ส่วนหน้าใบเหนือบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่ จะมีลักษณะเหลืองซีดในระยะแรก และจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง เมื่อระบาดรุนแรงมากขึ้นจะหลบซ่อนอยู่ภายใต้เส้นใยบางๆ ที่ไรสร้างขึ้นบริเวณใต้ใบนั้น
พืชอาศัยหลัก (Main host)
มะพร้าว : coconut (Cocos nucifera)
หมาก, หมากผู้ หมากเมีย : areca palm, betelnut palm (Areca catechu)
พืชตระกูลปาล์ม : (Arecaceae)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
None Data
ใบ
เป็นไรที่ทำความเสียหายร้ายแรงกับพืชตระกูลปาล์มในหลายประเทศทั่วโลก ประเทศต้นกำเนิดที่พบไรแมงมุมเทียม์ปาล์ม คือ อินเดีย
ในประเทศไทยพบทำลายใบพืชตระกูลปาล์มที่ปลูกทั่วๆไป แต่ไม่ระบาดรุนแรง
ในต่างประเทศ พบแพร่กระจายในหลายประเทศ ได้แก่ Cambodia, India, Israel, Oman, Pakistan, Philippines, Saudi Arabia, Sri Lanka, United Arab Emirates, Benin, Egypt, Mauritius, Reunion, Sudan, Tanzania, Mexico, USA, Barbados, Cuba, Dominica, Dominican Republic, Grenada, Guadeloupe, Haiti, Jamaica, Martinique, Puerto Rico, Saint Lucia, Saint Vincent and the Grenadines, Trinidad and Tobogo, United States Virgin Islands, Brazil, Colombia, Venezuela, Russian Federation
ช่วงอากาศร้อนและแห้งแล้ง
1. พบในประเทศไทย ตัวห้ำ วงศ์ Phytoseiidae และ Ascidae
2. พบในต่างประเทศ (อินเดีย) ตัวห้ำ ได้แก่ Amblyseius channabasavanni (ไรตัวห้ำ: predatory mite), Stethorus keralicua (ด้วงตัวห้ำ: predatory beetle)
ยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย เนื่องจากการระบาดของไรแมงมุมเทียมปาล์มไม่รุนแรง จากการสำรวจมักพบมีศัตรูธรรมชาติพวกไรตัวห้ำอยู่ปะปนในกลุ่มของไรแมงมุมเทียมปาล์มเสมอ จึงคาดว่าไรตัวห้ำเหล่านั้นจะมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ไม่เกิดการระบาดของไรชนิดนี้ในประเทศไทย
[1] Crop Protection Compendium. 2014. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Comprehensive databases on quarantine plant pests and diseases. 2016. URL http://www.q- bank.eu/Arthropods/BioloMICS.aspx?Table=Qbank%20Arthropods%20Species&Rec=8675&Fields=All
[3] Lindquist, E.E., G.W. Krantz and D.E. Walter. 2009. Chapter eight Classification, pp. 97-103. In G.W. Krantz, eds. Third edition a manual of Acarology. The United states of America. USA.
[4] กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2543. ไรศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ. 192 หน้า.
[5] กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2556. คู่มือตรวจไรศัตรูพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สาขา 4, จ.นนทบุรี. 140 หน้า.
พิพิธภัณฑ์ไร กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable