Aceria longana Boczek and Knihinicki

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Aceria longana Boczek and Knihinicki
ชื่อพ้อง (Synonym)  
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ไรกำมะหยี่ลำไย
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  longan erineum mite

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Arthropoda
    Class  Arachnida
       Order  Trombidiformes
           Family  Eriophyidae
              Genus  Aceria
                Species  longana

ลักษณะการทำลาย (Infestation)

ดูดกินน้ำเลี้ยงบนใบอ่อน ทำให้บิดม้วนงอ ลีบเรียว ไม่เจริญเติบโต หากส่องดูด้วยแว่นขยายจะเห็นใบมีขนละเอียดสีเขียวหรือน้ำตาลอ่อนขึ้นปกคลุมยอดอ่อนทั้งบนและใต้ใบ ใบที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งคาช่อ หรือเกิดอาการแตกยอดอ่อนผิดปกติ โดยแตกเป็นฝอยมาก มีลักษณะคล้ายพุ่มไม้กวาด กิ่งไม่ยืดยาว ในที่สุดจะแห้งและหลุดร่วงไป เหลือแต่ก้านใบ ถ้าทำลายระยะแทงช่อดอก พบว่าทำให้ช่อดอกแตกเป็นพุ่มแจ้ มีเส้นขนอ่อนขึ้นปกคลุมช่อดอก ทำให้ดอกหลุดร่วงไม่ติดผล

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

ลำไย : longan (Dimocarpus longan)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

None Data

ส่วนของพืชที่ใช้เป็นที่อาศัย (Harboring plant part)

ใบอ่อน ช่อดอก

การแพร่กระจาย (Distribution)

พบในแหล่งปลูกลำไยทั่วไป ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน จันทบุรี  นครราชสีมา

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (Favorable condition)

ช่วงลำไยแตกใบอ่อน และช่อดอก

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

พบในประเทศ ตัวห้ำ ได้แก่ Amblyseius paraaerialis (ไรตัวห้ำ: predatory mite), phytoseius hawaiiensis (ไรตัวห้ำ: predatory mite)

วิธีการควบคุม (Control measure)

ตัดแต่งกิ่งที่ถูกไรทำลายมาทำลายทิ้ง หลังตัดแต่งกิ่ง เมื่อลำไยเริ่มแทงช่อใบหรือช่อดอก ให้พ่นสารป้องกันกำจัดไร โพรพาร์ไกต์ ตามอัตราที่แนะนำตามฉลาก

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Lindquist, E.E., G.W. Krantz and D.E. Walter. 2009. Chapter eight Classification, pp. 97-103. In G.W. Krantz, eds. Third edition a manual of Acarology. The United states of America. USA.
[2] กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2543. ไรศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ. 192 หน้า.
[3] กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม. 2556. คู่มือตรวจไรศัตรูพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สาขา 4, จ.นนทบุรี. 140 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

พิพิธภัณฑ์ไร กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication