องค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (NPPO)

ตามมาตรา 4 ของอนุสัญญา IPPC ให้ประเทศภาคีสมาชิกกำหนดหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ หรือ National Plant Protection Organization (NPPO) ความรับผิดชอบของ NPPO ตามมาตรา 4 ของอนุสัญญา IPPC มีดังนี้

  1. ก) ออกใบรับรองที่เกี่ยวข้องกับระเบียบข้อบังคับสุขอนามัยพืชของประเทศภาคีสมาชิกผู้นำเข้า สำหรับสินค้าพืชที่ส่งมอบ (consignments of plants) ผลิตผลพืช (plant products) และวัตถุควบคุม (regulated articles)
  2. ข) เฝ้าระวังพืชปลูก ที่อยู่ทั้งในพื้นที่เพาะปลูก (ไร่นา แปลงพืชขนาดใหญ่ แปลงเพาะชำ สวน เรือนกระจก และห้องปฏิบัติการต่างๆ) และพื้นที่ป่า รวมทั้งพืชและผลิตผลพืชต่างๆ ในคลังเก็บสินค้า หรือในการขนส่ง เพื่อรายงานการเกิดขึ้น (occurrence) การระบาด (outbreak) การแพร่กระจาย (spread) ของศัตรูพืชต่างๆ และการควบคุมศัตรูพืชเหล่านั้น รวมถึงการรายงานที่เกี่ยวข้องภายใต้มาตรา 8 วรรค 1 (ก)
  3. ค) ตรวจสอบสินค้าที่ส่งมอบต่างๆ ที่เป็นพืชและผลิตผลพืชต่างๆ ที่มีการเคลื่อนย้ายตามเส้นทางระหว่างประเทศหรือตามเส้นทางที่เหมาะสม และตรวจสอบวัตถุควบคุมอื่นๆ เพื่อจุดมุ่งหมายในการป้องกันการนำเข้า (introduction) และ/หรือ การแพร่กระจาย (spread) ของศัตรูพืชต่างๆ
  4. ง) ทำการหยุดยั้งการลงทำความเสียหาย หรือ จัดการทำลายเชื้อโรคของสินค้าที่ส่งมอบที่เป็นพืช และผลิตผลพืช และวัตถุควบคุม ที่มีการเคลื่อนย้ายตามเส้นทางระหว่างประเทศ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืช
  5. จ) ปกป้องรักษาพื้นที่ที่อยู่ในอันตราย กำหนดที่ตั้ง บำรุงรักษา เฝ้าระวังพื้นที่ปลอดศัตรูพืช และพื้นที่ที่มีความแพร่กระจายของศัตรูพืชต่ำ
  6. ฉ) ดำเนินงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
  7. ช) ทำให้แน่ใจโดยวิธีการต่างๆที่เหมาะสมหลังจากการออกใบรับรอง ว่าสินค้าที่ส่งมอบที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ การทดแทน และการลงของศัตรูพืชที่อาจทำความเสียหายอีก ได้รับการดูแลรักษาให้มีความปลอดภัยทางสุขอนามัยพืช ก่อนการส่งออก
  8. ซ) ทำการอบรมและการพัฒนาการบุคลากรเจ้าหน้าที่

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ NPPO ของประเทศไทย ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 แกไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 โดยมีหน่วยงานภายใน 3 หน่วย ได้แก่ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ NPPOดังนี้

  1. สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
    • ควบคุมการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน สินค้าส่งมอบด้านพืช ผลิตภัณฑ์พืช และวัคถุควบคุมที่เคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ
    • ออกใบอนุญาตนำเข้า (import permit)
    • ตรวจสอบและอนุญาตนำเข้าสินค้าส่งมอบด้านพืช ผลิตภัณฑ์พืช และวัคถุควบคุม
    • ตรวจสอบและออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (phytosanitary certification)
    • แจ้งประเทศผู้นำเข้า กรณีที่ปฏิบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกฏหมายกักพืชของประเทศไทย (Notification of non-compliance)
    • กำกับ ดูแลวิธีปฏิบัติต่อวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ (wood packaging material) ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISPM หมายเลข 15 (Guidelines for regulating wood packaging material in international trade)
    • กำกับ ดูแลด่านตรวจพืช 48 ด่าน
  2. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
    • วิจัยและพัฒนางานด้านอารักขาพืชและกักกันพืช
    • กำกับ ดูแล งานทดลองประสิทธิภาพเพื่อขึ้นทะเบียนสารกำจัดศัตรูพืช
    • บริการงานวิชาการด้านต่างๆ เช่น ออกใบรับรองสุขอนามัยพืช วินิจฉัยศัตรูพืช สารชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช ชุดทดสอบสำหรับการวินิจฉัยโรคพืช การผลิตพืชปลอดโรค
    • ดูแล รักษาพิพิธภัณฑ์แมลง วัชพืช และโรคพืช รวมทั้งเป็นศูนย์รวบรวมจุลินทรีย์ทางการเกษตร
    • กำกับ ดูแล งานเฝ้าระวังศัตรูพืช และงานวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
    • ถ่ายโอนเทคโนโลยีงานอารักขาพืชให้กับเกษตรกร, หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน
  3. กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
    • ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็น “ความตกลงมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หรือ ความตกลง SPS”
    • รับข้อมูลจากประเทศผู้นำเข้าสินค้าด้านพืช ผลิตภัณฑ์พืช และวัคถุควบคุม ที่ส่งออกจากประเทศไทย และปฏิบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกฏหมายกักพืชของประเทศผู้นำเข้านั้น