ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Rattus rattus (Linnaeus)
ชื่อพ้อง (Synonym) Rattus rattus rufescens, Rattus rattus thai, Rattus rattus jalorensis, Rattus tiomanicus jalorensis, Rattus rattus
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) หนูท้องขาว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) ship rat
Phylum Chordata
Class Mammalia
Order Rodentia
Family Muridae
Genus Rattus
Species rattus
พบทำลายข้าว ธัญพืช พืชไร่ต่างๆ สวนมะพร้าว สวนปาล์มน้ำมัน สวนโกโก้ สวนกาแฟ สวนผลไม้ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง พืชตระกูลส้ม กล้วย ฯลฯ ตั้งแต่ระยะปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ยังเป็นศัตรูสำคัญในโรงงานผลิตอาหาร ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และโกดังเก็บสิ่งบริโภคต่างๆ ลำต้น กิ่ง ก้าน และผลผลิตของข้าวโพด มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน โกโก้ ลำไย กาแฟ จะถูกกินเป็นอาหารและยังกัดแทะเพื่อลับฟัน
พืชอาศัยหลัก (Main host)
ข้าวโพด : corn, maize (Zea mays)
ปาล์มน้ำมันแอฟริกัน : African oil palm (Elaeis guineensis)
มะพร้าว : coconut (Cocos nucifera)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
ข้าว : rice (Oryza sativa)
ข้าวสาลี : wheat (Triticum aestivum)
ข้าวฟ่าง, ฟ่างหางหมา : foxtail millet (Setaria italica)
ถั่วเหลือง : soyabean (Glycine max)
ถั่วเขียว : Mung BeanGreen BeanGreen GramGolden Gram (Vigna radiata)
พืชตระกูลหญ้า : grass (Gramineae)
ขุดรูอาศัยตามใต้ต้น หรือ อาศัยบนส่วนยอดของต้นที่มีใบหรือทางใบหนาแน่น
พบในนาข้าวแถบภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฟาร์มเลี้ยงไก่ โกดังเก็บผลผลิตและสิ่งบริโภคพบทั่วประเทศ
สวนมะพร้าม ปาล์มน้ำมัน โกโก้ ลำไย กาแฟ ไร่ข้าวโพด ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานผลิตอาหาร และโกดังเก็บผลผลิต
แมวป่า พังพอน นกเหยี่ยว งูชนิดต่างๆ นกแสก มนุษย์ ฯลฯ
ใช้วิธีการป้องกันกำจัดหนูแบบผสมผสาน เช่น วิธีกล กายภาพ และการเขตกรรม ใช้สารชีวินทรีย์กำจัดหนู (ค๊อคซิเดียนปรสิตโปรโตซัว, Sarcocystis singaporensis) หรือ ศัตรูธรรมชาติ หรือร่วมกับการใช้สารเคมีกำจัดหนู เป็นต้น
[1] Lekagul, B. and J.A. McNeely. 1977. Mammals of Thailand. Association for Conservation of Wildlife. Kuruspa, Bangkok. 457 p.
[2] กลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร กองกีฏและสัตววิทยา. 2544. หนูและการป้องกันกำจัด. กรมวิชาการเกษตร. 136 หน้า
[3] สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กลุ่มวิจัยกีฏและสัตววิทยา. 2551. คำแนะนำการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืช. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 295 หน้า.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable