Mus caroli Bonhote

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Mus caroli Bonhote
ชื่อพ้อง (Synonym)  Mus formosanus, Mus musculus ouwensi, Mus bactrianus kakhyenensi
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  หนูหริ่งนาหางยาว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  ryukuy mouse

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Chordata
    Class  Mammalia
       Order  Rodentia
           Family  Muridae
              Genus  Mus
                Species  caroli

ลักษณะการทำลาย (Infestation)

พบทำลายข้าว ธัญพืช และพืชไร่ต่างๆ ตั้งแต่ระยะปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว สวนลำไยพบการทำลายของหนูในระยะเก็บเกี่ยว กัดกินเมล็ดข้าวระยะน้ำนม และระยะฝักอ่อนและแก่ของถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด และยังกัดแทะต้น กิ่งก้านเพื่อลับฟันเมล็ด หรือฝัก หรือผลของพืช

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

ข้าว : rice (Oryza sativa)
ถั่วเหลือง : soyabean (Glycine max)
ถั่วเขียว : Mung BeanGreen BeanGreen GramGolden Gram (Vigna radiata)
ข้าวโพด : corn, maize (Zea mays)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

ข้าวสาลี, พืชสกุล Triticum : wheat (Triticum sp.)
ข้าวฟ่าง, ฟ่างหางหมา : foxtail millet (Setaria italica)
หญ้าคมบาง, หญ้าคมบาง, หญ้าไผ่, หญ้าพริกพราน : Mauritian grass (Apluda mutica)
ลำไย : longan (Dimocarpus longan)
พืชตระกูลหญ้า : grass (Gramineae)

ส่วนของพืชที่ใช้เป็นที่อาศัย (Harboring plant part)

อาศัยตามรอยแตกของดิน หรือบริเวณที่วัชพืชขึ้นหนาแน่น บางครั้งพบอาศัยในรังนกร้าง

การแพร่กระจาย (Distribution)

นาข้าว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สวนลำไยแถบภาคเหนือ

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (Favorable condition)

นาข้าว และพืชไร่อื่นๆ ที่มีวัชพืช สวนลำไยใกล้นาข้าวติดชายป่าที่มีอายุ 5-7 ปี

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

แมวป่า พังพอน นกเหยี่ยว งูชนิดต่างๆ นกแสก มนุษย์ ฯลฯ

วิธีการควบคุม (Control measure)

ใช้วิธีการป้องกันกำจัดหนูแบบผสมผสาน เช่น วิธีกล กายภาพ และการเขตกรรม ใช้สารชีวินทรีย์กำจัดหนู หรือ ศัตรูธรรมชาติ หรือร่วมกับการใช้สารเคมีกำจัดหนู เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Lekagul, B.P.D., M. Round, K. Wongkalisn and B.K. Komolphalin. 1991. A Guide to the Birds of Thailand. Kuruspa, Bangkok. 457 p.
[2] กลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร กองกีฏและสัตววิทยา. 2544. หนูและการป้องกันกำจัด. กรมวิชาการเกษตร. 136 หน้า
[3] สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กลุ่มวิจัยกีฏและสัตววิทยา. 2551. คำแนะนำการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืช. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 295 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication